โรงเรียนสตรีภูเก็ต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนสตรีภูเก็ต
Satree Phuket School
ตราสัญลักษณ์โรงเรียนสตรีภูเก็ต
ที่ตั้ง
Map
ข้อมูล
ชื่ออื่นส.ภ.ก./SPK
ประเภทรัฐบาล
คำขวัญความรู้ คู่ความดี มีสุขภาพ
สถาปนา29 เมษายน 2451 (114 ปี 150 วัน)
ผู้ก่อตั้งพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี๊ ณ ระนอง)
รหัส1004830102
ผู้อำนวยการปัญญา หัตถิ
ระดับปีที่จัดการศึกษามัธยมศึกษา
จำนวนนักเรียน3,036 คน
(2561)[1]
ภาษาไทย
สี   น้ำเงิน-ขาว
เพลงมาร์ชสตรีภูเก็ต
เว็บไซต์http://www.satreephuket.ac.th

โรงเรียนสตรีภูเก็ต (อังกฤษ: Satree Phuket School) (อักษรย่อ ส.ภ.ก.,S.P.K) ก่อตั้งขึ้นโดยพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี สมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต ร่วมกับคณะกรรมการสตรี ได้จัดหาเงินเพื่อสร้างโรงเรียนสำหรับสตรีขึ้น ณ สถานที่บริเวณถนนสตูลเชิงเขารัง เมื่อ พ.ศ. 2451 โดยได้วางศิลาฤกษ์จารึกไว้ว่า " โรงเรียนษัตรี สร้างปี 127 " และในขณะที่อาคารเรียนยังก่อสร้างไม่แล้วเสร็จ ได้สร้างเรือนไม้ชั่วคราวขึ้นในบริเวณวัดมงคลนิมิตรเพื่อให้นักเรียนได้ใช้เรียน โดยเปิดสอนเฉพาะระดับประถม สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธสยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดและพระราชทานนามโรงเรียนว่า "ปลูกปัญญา" เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2451

ประวัติ

  • พ.ศ. 2454 ย้ายนักเรียนไปเรียนที่อาคารโรงเรียนษัตรี สร้างปี 127 บริเวณเขารัง ถนนสตูลและใช้ชื่อเดิมว่า " โรงเรียนปลูกปัญญา "
  • พ.ศ. 2460 มีการขยายชั้นเรียนสูงขึ้นถึงระดับมัธยมทำให้สถานที่เรียนไม่เพียงพอ พระพิทักษ์ชินประชา (ตันม้าเสียง ตัณฑวณิช) ได้สร้างอาคารเรียนใหม่ที่บริเวณวัดมงคลนิมิตรด้านถนนเยาวราชเป็นตึก 2 ชั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดและพระราชทานนามว่า โรงเรียนสตรีประจำมณฑลภูเก็ต " ตัณฑวณิชวิทยาคม " ทำให้โรงเรียนทำการสอนอยู่ 2 เขต คือ เขตตัณฑวณิช และเขตปลูกปัญญา
  • พ.ศ. 2471 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี เสด็จเลียบมณฑลภูเก็ต ได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมโรงเรียน
  • พ.ศ. 2476 มีการยกเลิกระบบมณฑล นามโรงเรียน จึงเปลี่ยนเป็นโรงเรียนสตรีประจำจังหวัดภูเก็ต "ตัณฑวณิชวิทยาคม"
  • พ.ศ. 2483 โอนการสอนระดับประถมให้เทศบาล เหลือทำการสอนเฉพาะระดับมัธยม อาคารตัณฑวณิช ถูกจัดให้เป็นสถานที่เรียนของนักเรียนฝึกหัดช่างเย็บผ้าหญิง โรงเรียนสตรีประจำจังหวัดภูเก็ตจึงมีเพียงอาคารปลูกปัญญาแห่งเดียว
  • พ.ศ. 2492 แลกเปลี่ยนที่ดินกับเทศบาลเมืองภูเก็ต มาตั้งอยู่ ณ ที่ปัจจุบัน คือ ถนนดำรง
  • พ.ศ. 2494 เปลี่ยนนามเป็นโรงเรียนสตรีภูเก็ต
  • พ.ศ. 2542 พื้นที่ 28 ไร่ 68 ตารางวา
  • พ.ศ. 2543 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จทอดพระเนตร "สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน" เมื่อ 26 เมษายน 2543
  • พ.ศ. 2544 ได้รับคัดเลือกเป็นโรงเรียนดีเด่น รางวัลพระราชทานเป็นปีที่ 7 และโล่ทองพระราชทาน 3 ปีซ้อน ครั้งที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2544
  • พ.ศ. 2545 ได้รับรางวัลดีเด่นดำเนินงานป้องกันปัญหายาเสพติดได้ประสบความสำเร็จ ปีการศึกษา 2545
  • พ.ศ. 2546 ได้รับโล่ห์โรงเรียนได้ผ่านเกณฑ์การประเมินเป็นโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพดเด่นด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม
  • พ.ศ. 2547 ได้รับคัดเลือกเป็นสถานศึกษาที่จัดกิจกรรมดีเด่นด้านการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
  • พ.ศ. 2548 สมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาสยามบรมราชกุมารีพร้อมด้วยอาคันตุกะ ได้เสด็จทอดพระเนตร "สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน" เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2548
  • พ.ศ. 2549 ได้รับคัดเลือกเป็นโรงเรียนดีเด่น เข้ารับรางวัลพระราชทาน ประจำปีการศึกษา 2548รับพระราชทานรางวัลเป็นครั้งที่ 8
  • พ.ศ. 2552 งานเฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปี ชื่องาน "ร้อยใจ ร้อยไมตรี 100 ปี สตรีภูเก็ต"

บุคลากรของโรงเรียนสตรีภูเก็ต

ทำเนียบผู้บริหาร

ลำดับที่วาระการดำรงตำแหน่งรายนาม
1พ.ศ. 2451 - พ.ศ. 2455นายค้อ ฤกษ์ถลาง
2พ.ศ. 2455 - พ.ศ. 2559พระภิกษุโส สุรัตน (ธรรมานนท์)
3พ.ศ. 2460 - พ.ศ. 2465นางพินิจธนากร (ทรัพย์ ยุกตะนันท์)
4พ.ศ. 2465 - พ.ศ. 2467นางเรืองแก้ว สุนันทโกษา
5พ.ศ. 2467 - พ.ศ. 2468นายนั้ว (นิวัตร) เกษตริกะ
6พ.ศ. 2468 - พ.ศ. 2471นางบริหารสิกขกิจ (จินดา สินธวานนท์)
7พ.ศ. 2472 - พ.ศ. 2474นางสาวภูเก็ต ณ นคร (นางอาจอนามัย)
8พ.ศ. 2474 - พ.ศ. 2475นายนั้ว (นิวัตร) เกษตริกะ
9พ.ศ. 2476 - พ.ศ. 2480นางสาวอนงค์ สุคนธรส
10พ.ศ. 2480 - พ.ศ. 2487นางสาวประดับ ณ ถลาง (นางนงรัตน์ บุญยกิจ)
11พ.ศ. 2487 - พ.ศ. 2521นางเย็นจิต ณ ตะกั่วทุ่ง
12พ.ศ. 2521 - พ.ศ. 2530นางสว่าง ปานมั่น
13พ.ศ. 2530 - พ.ศ. 2535นางสาวสุภางค์ เขียวหวาน
14พ.ศ. 2535 - พ.ศ. 2540นางสาวสุรางค์ บุญฮก
15พ.ศ. 2541 - พ.ศ. 2545นางสาวรานี วิสูตรธนาวิทย์
16พ.ศ. 2545 - พ.ศ. 2547นางสาวผ่องศรี เรืองดิษฐ์
17พ.ศ. 2547 - พ.ศ. 2554นายเกียรติศักดิ์ ปิลวาสน์
18พ.ศ. 2554 - พ.ศ. 2556นายปรีชา หนูน้อย
19พ.ศ. 2556 - พ.ศ. 2557 นายอุเทน จิตต์สำรวย
20พ.ศ. 2557 - ปัจจุบันนายโกศล ใสขาว

แผนการเรียนที่เปิดสอนในโรงเรียนสตรีภูเก็ต

ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

  • แผนการเรียนวิชาการทั่วไป

ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

  • แผนการเรียนวิทย์-คณิต,แผนการเรียนคณิต-อังกฤษ (ฝรั่งเศส,เยอรมัน,จีน,ญี่ปุ่น)

โครงการพิเศษของโรงเรียนสตรีภูเก็ต

  • International program Cambridge (IPC)Year 8 - Year 13
  • International program (IP) ในมัธยมต้น ม.1- ม.3 ในมัธยมปลาย ม.4 - ม.6
  • SMTE ในมัธยมต้นM.1 - M.3 ในมัธยมปลาย M.4 - M.6

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

0.79553604125977