เฉลิม พรหมเลิศ
เฉลิม พรหมเลิศ | |
---|---|
รองประธานวุฒิสภา | |
ดำรงตำแหน่ง 1 สิงหาคม พ.ศ. 2543 – 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 14 มีนาคม พ.ศ. 2479 |
นายเฉลิม พรหมเลิศ อดีตรองประธานวุฒิสภา คนที่ 1 และสมาชิกวุฒิสภา จังหวัดสุราษฎร์ธานี[1] เขาถูกตัดสินจำคุกเป็นเวลา 36 ปี ในคดีเกี่ยวกับการซื้อบริการจากเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี (คดีพรากผู้เยาว์) ปัจจุบันอยู่ระหว่างการพักโทษ
ประวัติ
นายเฉลิม พรหมเลิศ เกิดเมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2479 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขารัฐศาสตร์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระดับปริญญาโท ทางด้านการปกครอง จากมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ และปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาส่งเสริมการเกษตร จากมหาวิทยาลัยแม่โจ้
การทำงาน
เฉลิม พรหมเลิศ รับราชการในสังกัดกระทรวงมหาดไทย เคยดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน ภูเก็ต สมุทรสาคร เป็นรองปลัดกระทรวงมหาดไทย ในปี พ.ศ. 2536 เป็นเลขาธิการสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท หลังเกษียณอายุราชการ ได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ชุดปี พ.ศ. 2539 ต่อมาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา ในการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาครั้งแรกในประเทศไทย พ.ศ. 2543 และได้รับเลือกเป็นรองประธานวุฒิสภา คนที่ 1 ต่อมาจึงได้ลาออกเนื่องจากถูกกล่าวว่าซื้อบริการจากเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี เมื่อปี พ.ศ. 2543
กรณีต้องโทษในคดีอาญา
นายเฉลิม พรหมเลิศ ถูกกล่าวหาว่าซื้อบริการทางเพศจากเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี เมื่อปี พ.ศ. 2543 จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2550 ศาลฎีกา มีคำพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์ ให้จำคุกนายเฉลิม 36 ปี[2] และถูกจำคุกที่เรือนจำกลางคลองเปรม ต่อมาได้รับการพระราชทานอภัยโทษให้คงเหลือโทษจำคุก 5 ปี
ในปี พ.ศ. 2556 เขาได้รับการพักโทษ เนื่องจากเข้าหลักเกณฑ์จำคุกเกิน 2 ใน 3 และเป็นนักโทษชรา[3]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
นายเฉลิม พรหมเลิศ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุด
- พ.ศ. 2534 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2531 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
- พ.ศ. 2540 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)[6]
- พ.ศ. 2537 –
เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 1 (ส.ช.)[7]
- พ.ศ. 2530 –
เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[8]
- พ.ศ. 2532 –
เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[9]
- พ.ศ. 2520 –
เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[10]
เนื่องจากถูกศาลฎีกาพิพากษาจำคุก จึงถูกเรียกคืน เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553[11]
อ้างอิง
- ↑ วุฒิสภา ชุดที่ ๘ (สมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๔๓)[ลิงก์เสีย]
- ↑ จำคุก"เฉลิม พรหมเลิศ" เจอหนัก36ปี "ศาลฎีกา"พิพากษายืน
- ↑ พักโทษ!'เฉลิม พรหมเลิศ'เข้าเกณฑ์ชรา
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๒๐๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๓๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๒๐๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๙ ข หน้า ๓, ๑๖ ธันวาคม ๒๕๔๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๘ ข หน้า ๒, ๙ พฤษภาคม ๒๕๓๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๖๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๘, ๑ เมษายน ๒๕๓๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๘๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๒๗, ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๓๓
- ↑ รายพระนามและนามผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๒๐ จากเว็บไชต์ thaiscouts
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (นายเฉลิม พรหมเลิศ)
- สมาชิกเหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 1
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2479
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- นักโทษของประเทศไทย
- บุคคลจากจังหวัดสุราษฎร์ธานี
- ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- รองประธานวุฒิสภาไทย
- สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดสุราษฎร์ธานี
- นิสิตเก่าคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- บุคคลจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยแม่โจ้
- สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญไทย
- ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน
- ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต
- ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร