เคพีเอ็น อวอร์ด
เคพีเอ็น อวอร์ด | |
---|---|
![]() ภาพสัญลักษณ์รายการเคพีเอ็น อวอร์ด ครั้งที่ 25 | |
ประเภท | เรียลลิตี้โชว์ |
สร้างโดย | กลุ่มสยามกลการ |
เสนอโดย | เศรษฐา ศิระฉายา อุทุมพร ศิลาพันธ์ วิลลี่ แมคอินทอช (ครั้งที่ 19) ทิน โชคกมลกิจ, ไดอาน่า จงจินตนาการ (ครั้งที่ 20) พิษณุ นิ่มสกุล, ศกุนตลา เทียนไพโรจน์ (ครั้งที่ 22-25) |
ประเทศแหล่งกำเนิด | ![]() |
ออกอากาศ | |
เครือข่าย | ไทยทีวีสีช่อง 3 (ครั้งที่ 1-17,24-25) สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ (ครั้งที่ 18-23) เพลย์แชนแนล |
การประกวดร้องเพลงถ้วยพระราชทานชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย หรือ เคพีเอ็น อวอร์ด เป็นการประกวดร้องเพลงในประเทศไทย จัดโดย กลุ่มสยามกลการ ตั้งแต่ พ.ศ. 2526 จนถึงปัจจุบัน
ประวัติ
รายนามบุคคลผู้มีชื่อเสียงจากการประกวด
ปี 2526-2547
การประกวดร้องเพลง KPN แต่เดิมนั้นมีการประกวดร้องเพลงระดับประเทศ ภายใต้ชื่อ นิสสัน อวอร์ด และระดับยุวชน ยามาฮ่า อวอร์ด หรือที่เรียกว่าการประกวดร้องเพลงสยามกลการ ภายใต้การดูแลของคุณหญิงพรทิพย์ ณรงค์เดช โดยภายใต้ชื่อเดิมนั้นได้สร้างนักร้องระดับประเทศหลายคนที่มีผลงานดังถึงปัจจุบัน เช่น ธงไชย แมคอินไตย์ เริ่มต้นมาจากเวทีสยามกลการเช่นกัน [1] นอกจากนั้นเวทีนี้ยังสร้างศิลปินดังหลายคน ดังนี้
ระดับผู้ใหญ่
- อรวี สัจจานนท์ (นักร้องดีเด่นประเภทเพลงไทยสากล พ.ศ. 2526)
- รวิวรรณ จินดา (นักร้องยอดเยี่ยมประเภทเพลงสากล พ.ศ. 2527)
- ธงไชย แมคอินไตย์ (นักร้องดีเด่นประเภทเพลงไทยสากล พ.ศ. 2527)
- ประเชิญ บุญสูงเนิน (เจินเจิน) (นักร้องดีเด่นประเภทเพลงไทยสากล พ.ศ. 2527)
- หม่อมหลวงสราลี กิติยากร (นักร้องดีเด่นประเภทเพลงไทยสากล พ.ศ. 2527)
- อิสริยา คูประเสริฐ (นักร้องยอดเยี่ยมประเภทไทยเพลงสากลและนักร้องดีเด่นประเภทเพลงสากล พ.ศ. 2528)
- เกล ดีล่า(นักร้องยอดเยี่ยม พ.ศ. 2529)
- นันทนา บุญหลง (นักร้องดีเด่น พ.ศ. 2530)
- นนทิยา จิวบางป่า (นักร้องยอดเยี่ยม พ.ศ. 2531)
- อัญชุลี บัวแก้ว (นักร้องยอดเยี่ยม พ.ศ. 2532)
- ศรา เอี่ยมไอ (นักร้องดีเด่น พ.ศ. 2532)
- ศิริพร อยู่ยอด (นักร้องดีเด่น พ.ศ. 2532)
- เสาวนิตย์ นวพันธ์ (นักร้องดีเด่น พ.ศ. 2532)
- มนตรี แพร่ศิริพุฒิพงศ์ (นักร้องดีเด่น พ.ศ. 2533)
- นงนุช สมบูรณ์ (เจเน็ต เขียว) (นักร้องดีเด่น พ.ศ. 2533)
- สิริพร ศรียานนท์ (นักร้องยอดเยี่ยม พ.ศ. 2534)
- สมา สวยสด (นักร้องยอดเยี่ยม พ.ศ. 2535)
- พันเอก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์วิภู กำเนิดดี (นักร้องยอดเยี่ยม พ.ศ. 2536 (ยศร้อยตรีในปีที่ได้รับรางวัล)
- ปนัดดา เรืองวุฒิ (นักร้องดีเด่น พ.ศ. 2538)
ระดับยุวชน
- ลลิตา ตะเวทิกุล (นักร้องยุวชนยอดเยี่ยม พ.ศ. 2533)
- ธุรดี อารีรอบ (นักร้องยุวชนดีเด่น พ.ศ. 2534)
- ธิติมา ประทุมทิพย์ (นักร้องยุวชนดีเด่น พ.ศ. 2534)
- ศรัณย์ คุ้งบรรพต (โน้ต) (นักร้องยุวชนยอดเยี่ยม พ.ศ. 2534)
- ทาทา ยัง (นักร้องยุวชนยอดเยี่ยมประเภทเพลงสากล พ.ศ. 2535)
- นันทพร สว่างแจ้ง (แนนซี่) (นักร้องยุวชนดีเด่นประเภทเพลงสากล พ.ศ. 2538)
- ณัฐชา สวัสดิ์รักเกียรติ (พลอย) (นักร้องยุวชนยอดเยี่ยมประเภทเพลงไทยสากล พ.ศ. 2543)
- เปี่ยมปีติ หัถกิจโกศล (นิ้ง) (นักร้องยุวชนยอดเยี่ยมประเภทเพลงไทยสากล พ.ศ. 2543)
- ณัฐภัสสร สิมะเสถียร (ดาว) (นักร้องยุวชนดีเด่นประเภทเพลงสากล พ.ศ. 2543)
- นภัทร อินทร์ใจเอื้อ (กัน) (นักร้องยุวชนดีเด่นประเภทเพลงไทยลุกทุ่ง พ.ศ. 2543)
- ศรัณย์ คุ้งบรรพต (โน้ต) (นักร้องดีเด่นแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2544)
- กุลมาศ ลิมปวุฒิวรานนท์ (ขนมจีน) (นักร้องยุวชนยอดเยี่ยมประเภทเพลงไทยสากล พ.ศ. 2547)
- หนึ่งธิดา โสภณ (หนูนา) (นักร้องยุวชนดีเด่นประเภทเพลงไทยสากล พ.ศ. 2547)
- รวิสรารัตน์ พิบูลภานุวัธน (พรีน) (นักร้องยุวชนยอดเยี่ยมประเภทเพลงสากล พ.ศ. 2547)
- นนธวรรณ ฌรรวนธร (เมญ่า) (นักร้องยุวชนยอดเยี่ยมประเภทเพลงไทยลูกทุ่ง พ.ศ. 2547)
- ภาสกร วิรุฬห์ทรัพย์ (เพชร) (นักร้องยุวชนยอดเยี่ยมประเภทเพลงสากล พ.ศ. 2549)
ปี 2548-ปัจจุบัน
สถาบันดนตรี KPN มิวสิค, KPN Award ซึ่งรับหน้าที่ดูแลการประกวด KPN Award รวมทั้งค่ายเพลงที่ชื่อว่า KPN Award และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โดยแบรนด์ KPN Award นั้นมีมานานกว่า 20 ปี KPN มาจากชื่อคุณเกษม และคุณหญิงพรทิพย์ ณรงค์เดช โดยหน้าที่ในการดูแลธุรกิจปัจจุบันเป็นของลูกๆ ทั้ง 3 คน โดยที่รู้จักกันดีคือ “กรณ์ ณรงค์เดช” 1 ใน 3 ทายาทตระกูลณรงค์เดช ในฐานะบิ๊กบอส CEO KPN Award[2]
ในปี พ.ศ. 2559 การประกวด เคพีเอ็น อวอร์ด จะไม่มีการรับสมัครผู้เข้าแข่งขัน แต่จะคัดเลือกจากผู้ผ่านเข้ารอบการประกวดนักร้องยอดเยี่ยมเครือสยามกลการในปีที่ผ่านมาแต่ไม่ได้รับรางวัล แล้วแข่งขันเพื่อเฟ้นหานักร้องยอดเยี่ยมคนที่ 25
อ้างอิง
- ↑ "สยามกลการ"จากเศษเหล็กสู่ธุรกิจหมื่นล้าน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-05-10. สืบค้นเมื่อ 2014-09-19.
- ↑ Marketing Insight: ไขกุญแจความสำเร็จ 2 ทศวรรษแบรนด์ ‘KPN Award[ลิงก์เสีย]
- ↑ "นก ธิติมา เจริญศรี". You2Play. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-23. สืบค้นเมื่อ 2012-10-25.
- ↑ 4.0 4.1 "นก (KPN 6) ซิวแชมป์ เคพีเอ็น อวอร์ด 2009". Kapook.
- ↑ "KPN Award 2012 แนะนำผู้เข้าแข่งขัน KPN 1 - KPN 6". Music MThai. 6 กันยายน 2011.
- ↑ "KPN Award 2012 แนะนำผู้เข้าแข่งขัน KPN 7 - KPN 12". Music MThai. 6 กันยายน 2011.
- ↑ "เพียว คว้ารางวัลอันทรงเกียรติ จากเวที KPN AWARD 2010". Music MThai. 6 กันยายน 2011.
- ↑ "บี้ คว้ารางวัลอันทรงเกียรติ จากเวที KPN AWARD 2011". Music MThai. 6 กันยายน 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-19. สืบค้นเมื่อ 2012-12-28.
- ↑ "ผู้เข้าแข่งขัน 10 คนสุดท้าย KPN Award 2012". KPN Award. 2012.