สภากรุงเทพมหานคร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สภากรุงเทพมหานคร
ประเภท
ประเภท
ผู้บริหาร
ประธานสภา
วิรัตน์ มีนชัยนันท์, เพื่อไทย
รองประธานสภา คนที่ 1
ชญาดา วิภัติภูมิประเทศ, เพื่อไทย
รองประธานสภา คนที่ 2
อำนาจ ปานเผือก, ก้าวไกล
โครงสร้าง
สมาชิก50 คน
กลุ่มการเมือง
ฝ่ายข้างมาก (32)
  •   เพื่อไทย (21)
  •   ก้าวไกล (11)

ฝ่ายข้างน้อย (17)

อิสระ (1)

การเลือกตั้ง
ระบบแบ่งเขตคะแนนสูงสุด
การเลือกตั้งครั้งล่าสุด
22 พฤษภาคม 2565
ที่ประชุม
ห้องประชุมสภากรุงเทพมหานคร อาคารไอราวัตพัฒนา ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2
เว็บไซต์
bmc.go.th

สภากรุงเทพมหานคร (ตัวย่อ: ส.ก.) เป็นองค์กรฝ่ายสภาของกรุงเทพมหานคร มีหน้าที่ควบคุม ตรวจสอบและดูแลการบริหารราชการกรุงเทพมหานครของฝ่ายบริหารอันมีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นหัวหน้าคณะฯ ซึ่งประธานสภากรุงเทพมหานครคนปัจจุบัน คือ นายวิรัตน์ มีนชัยนันท์ สมาชิกสภากรุงเทพมหานครเขตมีนบุรี ,นางชญาดา วิภัติภูมิประเทศ สมาชิกสภากรุงเทพมหานครเขตคันนายาว เป็นรองประธานสภากรุงเทพมหานคร คนที่ 1 และนายอำนาจ ปานเผือกสมาชิกสภากรุงเทพมหานครเขตบางแค เป็นรองประธานสภากรุงเทพมหานคร คนที่ 2

โครงสร้าง

สภากรุงเทพมหานครมีสมาชิกสภากรุงเทพมหานครที่มาจากการเลือกตั้งหรือแต่งตั้ง ซึ่งมีจำนวนและวาระแตกต่างกันไปแล้วแต่กำหนด

สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร

สำหรับสภากรุงเทพมหานครชุดที่ 13 สมาชิกสภา 50 คนมาจากการเลือกตั้งระบบแบ่งเขต โดยมีสมาชิก 1 คนต่อ 1 เขตของกรุงเทพมหานคร มีวาระดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี และทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการสามัญประจำสภากรุงเทพมหานคร อันเป็นตัวแทนภาระหน้าที่รับผิดชอบของสภากรุงเทพมหานคร

ในปี 2553 สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร มีจำนวนทั้งสิ้น 61 คน โดยเริ่มจากการเลือกตั้ง ส.ก.ส.ข.ในวันอาทิตย์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2553 เนื่องจากมีเขตทั้งหมด 5 เขตมีประชากรมากขึ้น ได้แก่ เขตบางขุนเทียน, เขตลาดกระบัง, เขตประเวศ, เขตคลองสามวา, เขตบางกะปิ โดยเขตที่มีสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ได้มากกว่า 1 คน จะต้องเป็นเขตที่มีจำนวนประชากรมากกว่า 150,000 คน ซึ่งปัจจุบันมีทั้งหมด 11 เขตที่จะมีสมาชิกสภากรุงเทพมหานครได้มากกว่า 1 คน คือ 2 คน ได้แก่ เขตบางเขน, เขตจตุจักร, เขตสวนหลวง, เขตดอนเมือง, เขตสายไหม, เขตลาดกระบัง, เขตคลองสามวา, เขตประเวศ, เขตจอมทอง, เขตบางแค, เขตบางขุนเทียน[1]

สภากรุงเทพมหานคร ชุดที่ 13 หรือชุดปัจจุบัน มาจากการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 จำนวนสมาชิกทั้งสิ้น 50 คน

คณะกรรมการสามัญ

คณะกรรมการสามัญประจำสภากรุงเทพมหานคร มี 12 คณะ ได้แก่

  1. คณะกรรมการกิจการสภา
  2. คณะกรรมการตรวจรายงานการประชุม
  3. คณะกรรมการการศึกษา
  4. คณะกรรมการการโยธาและผังเมือง
  5. คณะกรรมการการสาธารณสุข
  6. คณะกรรมการการรักษาความสะอาดและสิ่งแวดล้อม
  7. คณะกรรมการการเศรษฐกิจ การเงิน การคลัง และการงบประมาณ
  8. คณะกรรมการการปกครองและรักษาความสงบเรียบร้อย
  9. คณะกรรมการการพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
  10. คณะกรรมการการจราจรและการขนส่ง
  11. คณะกรรมการการระบายน้ำ
  12. คณะกรรมการการวัฒนธรรม การท่องเที่ยว และการกีฬา[2]

ค่าตอบแทน

สมาชิกสภากรุงเทพมหานครได้รับค่าตอบแทน 48,450 บาทต่อเดือน รองประธานสภาฯ ได้รับค่าตอบแทน 61,140 บาทต่อเดือน และประธานสภาฯ ได้รับค่าตอบแทนเดือนละ 73,560 บาทต่อเดือน[3]

ลำดับสภากรุงเทพมหานคร

ชุดที่จำนวนสมาชิกระยะการดำรงตำแหน่งการเลือกตั้ง
146[4]16 เมษายน 2516 – 10 สิงหาคม 2518มาจากการแต่งตั้ง
241[5]2518 - 2520
3452520 - 2527
4402527 - 2528
546[6]2528 - 2532
657[7]2533 - 2537
7542537 - 2541
8602541 - 2545
9612545 - 2549
1057[8]2549 - 2553
1161[9]2553 - 2557พ.ศ. 2553
1230[10]15 กันยายน 2557 - 11 พฤษภาคม 2565มาจากการแต่งตั้ง
135022 พฤษภาคม 2565 -พ.ศ. 2565

รายชื่อประธานสภากรุงเทพมหานคร

ลำดับชื่อ[11]เริ่มวาระสิ้นสุดวาระ
1พระยามไหสวรรค์16 เมษายน 251620 มีนาคม 2518
2สนอง ปรัชญนันท์21 เมษายน 251810 สิงหาคม 2518
3พันตำรวจตรีเชาวลิต สิงห์เจริญ26 ธันวาคม 251829 เมษายน 2520
4กำจัด ผาติสุวัณณ13 พฤษภาคม 252030 พฤศจิกายน 2527
5ดำรง สุนทรศารทูล11 ธันวาคม 25277 ตุลาคม 2528
6ไพโรจน์ ประเสริฐ25 พฤศจิกายน 252824 พฤศจิกายน 2530
7ประวิทย์ รุจิรวงศ์25 พฤศจิกายน 252813 พฤศจิกายน 2532
8ประเสริฐ นาสมพันธ์18 มกราคม 253316 มกราคม 2535
17 มกราคม 253521 มกราคม 2535
22 มกราคม 25356 มกราคม 2537
9อรรถ แพทยังกุล9 มีนาคม 25378 มีนาคม 2539
10ศราวุฒิ ปฤชาบุตร3 เมษายน 25395 มีนาคม 2541
11วิสูตร สำเร็จวาณิชย์4 พฤษภาคม 254125 พฤษภาคม 2542
12เอนก หุตังคบดี26 พฤษภาคม 25423 พฤษภาคม 2543
13ประเดิมชัย บุญช่วยเหลือ4 พฤษภาคม 254325 เมษายน 2545
14สามารถ มะลูลีม24 มิถุนายน 254523 มิถุนายน 2547
15ธนา ชีรวินิจ24 มิถุนายน 254715 มิถุนายน 2549
16ธวัชชัย ปิยนนทยา10 พฤศจิกายน 25499 พฤศจิกายน 2551
17กิตพล เชิดชูกิจกุล10 พฤศจิกายน 255122 กรกฎาคม 2553
18สุทธิชัย วีรกุลสุนทร7 ตุลาคม 25536 ตุลาคม 2555
19พิพัฒน์ ลาภปรารถนา8 ตุลาคม 255528 สิงหาคม 2557
20ร้อยตำรวจตรี เกรียงศักดิ์  โลหะชาละ24 กันยายน 25576 กุมภาพันธ์ 2563
21นิรันดร์ ประดิษฐกุล12 กุมภาพันธ์ 256325 กันยายน 2563
22คำรณ โกมลศุภกิจ25 กันยายน 256317 พฤษภาคม 2565
23วิรัตน์ มีนชัยนันท์6 มิถุนายน 2565

อ้างอิง

  1. คอลัมน์ เปิดศึกเลือกตั้งส.ก. ส.ข.ทำยังไง ??? ได้ครองใจคนกรุง โดย จิรา จิราสิต หนังสือพิมพ์เดลินิวส์หน้า 24: ฉบับวันจันทร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
  2. "บทบาทของ "ประธานสภากรุงเทพมหานคร"". thunkhaotoday. สืบค้นเมื่อ 19 May 2022.
  3. "ทำความรู้จัก ส.ก.เป็นใคร-ทำหน้าที่อย่างไร ก่อนถึงเลือกตั้ง 22 พ.ค.65". กรุงเทพธุรกิจ. 9 April 2022. สืบค้นเมื่อ 19 May 2022.
  4. สมาชิกสภากรุงเทพมหานครชุดที่ ๑ (๑๖ เมษายน ๒๕๑๖ – ๑๐ สิงหาคม ๒๕๑๘)
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตเลือกตั้งและจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เล่ม ๙๒, ตอนที่ ๙๔, ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๑๘
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จำนวนสมาชิกสภากรุงเทพมหานครที่พึงมีในแต่ละเขตเลือกตั้ง เล่ม ๑๐๒, ตอนที่ ๑๓๕, ฉบับพิเศษ หน้า ๔๐, ๒๗ กันยายน ๒๕๒๘
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดเขตเลือกตั้งและจำนวนสมาชิกสภากรุงเทพมหานครที่จำทำการเลือกตั้งในแต่ละเขตเลือกตั้ง เล่ม ๑๐๖, ตอนที่ ๒๐๓, ฉบับพิเศษ หน้า ๑๐, ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๓๒
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง การแบ่งเขตเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เล่ม ๑๒๓, ตอนที่ ๖๖ ก, หน้า ๓๖, ๒๖ มิถุนายน ๒๕๔๙
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง การแบ่งเขตเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เล่ม ๑๒๗, ตอนที่ ๕๒ ก, หน้า ๒๓, ๒๗ สิงหาคม ๒๕๕๓
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๘๖/๒๕๕๗ เรื่อง การได้มาซึ่งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและสมาชิกสภาเขตเป็นการชั่วคราว เล่ม ๑๓๑, ตอนที่ ๑๓๔ ง, หน้า ๑๕, ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๗
  11. "อดีตประธานสภากรุงเทพมหานคร". BMC.

แหล่งข้อมูลอื่น

0.23863101005554