พรรคก้าวไกล
พรรคก้าวไกล | |
---|---|
![]() | |
หัวหน้า | ชัยธวัช ตุลาธน |
เลขาธิการ | อภิชาติ ศิริสุนทร |
ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรค | พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ |
รองหัวหน้า | |
รองเลขาธิการ | |
เหรัญญิก | ณธีภัสร์ กุลเศรษฐสิทธิ์ |
นายทะเบียนสมาชิก | ณกรณ์พงศ์ ศุภนิมิตตระกูล |
กรรมการบริหาร | |
ที่ปรึกษาหัวหน้าพรรค | |
โฆษก | พริษฐ์ วัชรสินธุ |
รองโฆษก | |
คำขวัญ | ก้าวต่อไป เพื่ออนาคตไทยทุกคน สู่อนาคตใหม่ ก้าวหน้า เท่าเทียม |
คติพจน์ | ต้องก้าวไกล ให้ไทยก้าวหน้า |
ก่อตั้ง | พรรคร่วมพัฒนาชาติไทย (ครั้งที่ 1) 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 พรรคก้าวไกล 19 มกราคม พ.ศ. 2563 |
ก่อนหน้า | พรรคอนาคตใหม่ |
ที่ทำการ | 167 อาคารอนาคตใหม่ ชั้น 6 ซอยรามคำแหง 42 แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร |
จำนวนสมาชิก (ปี 2566) | 84,553 คน[1] |
อุดมการณ์ | |
จุดยืน | กลางซ้าย[8][9][10][11] |
กลุ่มในภูมิภาค | เครือข่ายประชาธิปไตยสังคมนิยมในเอเชีย (SocDem Asia)[12][13] |
สี | สีส้ม |
เพลง | ก้าวไกลก้าวหน้า |
สภาผู้แทนราษฎร | 150 / 500 |
สภากรุงเทพมหานคร | 11 / 50 |
เว็บไซต์ | |
moveforwardparty.org | |
การเมืองไทย รายชื่อพรรคการเมือง การเลือกตั้ง |
พรรคก้าวไกล (อังกฤษ: Move Forward Party; อักษรย่อ: ก.ก.) เป็นพรรคการเมืองไทยที่จดทะเบียนก่อตั้งพรรคเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 โดยใช้ชื่อว่า พรรคร่วมพัฒนาชาติไทย มีการเปลี่ยนชื่อเป็น พรรคผึ้งหลวง ใน พ.ศ. 2562 และเปลี่ยนมาใช้ชื่อปัจจุบันใน พ.ศ. 2563 ภายหลังจากที่พรรคอนาคตใหม่ถูกยุบและสมาชิกส่วนใหญ่ย้ายมาสังกัดพรรคก้าวไกล
บทบาททางการเมือง
พรรคร่วมพัฒนาชาติไทย
จดทะเบียนก่อตั้งพรรคเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ในชื่อว่า พรรคร่วมพัฒนาชาติไทย มีศักดิ์ชาย พรหมโท และสมพร ศรีมหาพรหม เป็นหัวหน้าพรรคและเลขาธิการพรรคคนแรก โดยมีที่ทำการพรรคแห่งแรกอยู่ที่ 29/2 หมู่ 14 ตำบลหนองนาคำ อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี พร้อมกับคำขวัญพรรคว่า "ร่วมพัฒนา พาชาติพ้นวิกฤต พิชิตภัยคอร์รัปชั่น ยึดมั่นความเป็นไทย"[14]
ต่อมาในวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2560 ศักดิ์ชายได้ยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรค มีการแต่งตั้งสราวุฒิ สิงหกลางพล รองหัวหน้าพรรครักษาการในตำแหน่งหัวหน้าพรรค[15] ในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ทางพรรคได้จัดประชุมใหญ่เพื่อเลือกคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ ที่ประชุมมีมติเลือก ธนพล พลเยี่ยม และอังกูร ไผ่แก้ว เป็นหัวหน้าพรรคและเลขาธิการพรรคคนใหม่ พร้อมกับประกาศใช้ข้อบังคับพรรคฉบับใหม่แทนฉบับเดิมโดยได้ย้ายที่ทำการพรรคจากสถานที่เดิมมาอยู่ที่ 31/107 หมู่ 6 ซอยชินเขต 2 แยก 15 ถนนงามวงศ์วาน แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร และเปลี่ยนคำขวัญของพรรคเป็น "ร่วมพัฒนา นำประชาให้หลุดพ้น ทำค่าของคนให้เท่าเทียม"[16]
พรรคผึ้งหลวง
ต่อมาธนพลได้ลาออกจากตำแหน่ง[17] ทางพรรคร่วมพัฒนาชาติไทยจึงได้จัดการประชุมใหญ่สามัญ ครั้งที่ 1/2562 เมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2562 ที่ประชุมมีมติให้เปลี่ยนชื่อพรรคเป็น พรรคผึ้งหลวง พร้อมกับประกาศใช้ข้อบังคับพรรคฉบับใหม่แทนฉบับเดิมโดยได้ย้ายที่ทำการพรรคจากที่เดิมไปอยู่ที่ 168/9 หมู่ 12 ตำบลนางั่ว อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ รวมถึงเปลี่ยนแปลงตราสัญลักษณ์ของพรรคและเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่แทนชุดเดิมจำนวน 10 คน ซึ่งที่ประชุมมีมติเลือกก้องภพ วังสุนทร และนวิรุฬห์ ชลหาญ เป็นหัวหน้าพรรคและเลขาธิการพรรคคนใหม่ พร้อมกับเปลี่ยนคำขวัญพรรคใหม่เป็น "พลิกประวัติศาสตร์ พลิกงบพัฒนา 90% สู่หมู่บ้าน/ชุมชน"[18]
ต่อมาในวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 วิรุฬห์ได้ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคและเลขาธิการพรรค ทำให้คณะกรรมการบริหารพรรคเหลือทั้งสิ้น 9 คน[19] พรรคผึ้งหลวงจึงจัดประชุมใหญ่วิสามัญของพรรค ครั้งที่ 2/2562 เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2562 ณ สำนักงานสาขาพรรคผึ้งหลวง จังหวัดขอนแก่น เพื่อเลือกเลขาธิการพรรคคนใหม่ ที่ประชุมมีมติเลือกเจษฎา พรหมดี ให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคคนใหม่[20]
พรรคร่วมพัฒนาชาติไทย (ยุคที่ 2)
หลังจากนั้นในวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2562 พรรคผึ้งหลวงได้จัดประชุมใหญ่วิสามัญ ครั้งที่ 3/2562 ที่ โรงแรมโฆษะ จังหวัดขอนแก่น เพื่อแก้ไขข้อบังคับพรรค และเลือกคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่[21] โดยก่อนการลงมติก้องภพซึ่งเป็นหัวหน้าพรรคผึ้งหลวงได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคแต่ยังคงเป็นสมาชิกพรรคอยู่ และที่ประชุมมีมติเลือกธนพล พลเยี่ยม และอังกูร ไผ่แก้ว ให้กลับมาเป็นหัวหน้าพรรคและเลขาธิการพรรคสมัยที่ 2 พร้อมกับเปลี่ยนแปลงชื่อพรรคกลับไปเป็น พรรคร่วมพัฒนาชาติไทย อีกครั้ง และได้ย้ายที่ทำการพรรคกลับไปยังที่ทำการพรรคเดิมในสมัยที่ธนพลเป็นหัวหน้าพรรคสมัยที่ 1 โดยมีสถานที่ติดต่อชั่วคราวอยู่ที่ 757/14 หมู่บ้านมิตรภาพ ถนนอ่อนนุช 46 แขวงอ่อนนุช เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร[22][23]
พรรคก้าวไกล

ต่อมาเมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2563 พรรคร่วมพัฒนาชาติไทยได้จัดประชุมใหญ่สามัญ ครั้งที่ 1/2563 เพื่อแก้ไขข้อบังคับพรรค ชื่อพรรค ตราสัญลักษณ์พรรค และเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่[24] โดยที่ประชุมมีมติเปลี่ยนชื่อพรรคเป็น พรรคก้าวไกล และที่ประชุมพรรคมีมติเลือกราเชนธร์ ติยะวัชรพงศ์ และปีใหม่ รัฐวงษา เป็นหัวหน้าพรรคและเลขาธิการพรรคคนใหม่[25] แต่เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ราเชนธร์ได้เสียชีวิตลงอย่างกระทันหัน ทำให้ปีใหม่ซึ่งเป็นเลขาธิการพรรคต้องรักษาการในตำแหน่งหัวหน้าพรรค[26]

ต่อมาในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2563 พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ แถลงข่าวนำ ส.ส. ทั้ง 55 คนของอดีตพรรคอนาคตใหม่ที่ถูกศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคเข้าสังกัดพรรคก้าวไกลอย่างเป็นทางการ โดยที่ประชุมได้เลือกให้พิธาเป็นรักษาการประธาน ส.ส. และแต่งตั้งวิโรจน์ ลักขณาอดิศร เป็นรักษาการโฆษกของกลุ่ม ต่อมาที่ประชุมพรรคมีมติเลือกพิธาเป็นหัวหน้าพรรค และเลือกชัยธวัช ตุลาธน อดีตรองเลขาธิการพรรคอนาคตใหม่ เป็นเลขาธิการพรรคคนใหม่[27][28] ต่อมาในวันเสาร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2565 พรรคก้าวไกลได้จัดประชุมใหญ่สามัญประจำปีของพรรคขึ้นโดยได้มีการปรับเปลี่ยนคณะกรรมการบริหารพรรคบางส่วน พร้อมกับแต่งตั้ง พริษฐ์ วัชรสินธุ เป็นผู้จัดการการสื่อสารและการรณรงค์นโยบายของพรรค[29]
พิธากล่าวยืนยันว่า พรรคก้าวไกลจะสานต่ออุดมการณ์ของพรรคอนาคตใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการ "ยึดมั่นประชาธิปไตย ต่อต้านการรัฐประหาร" และการ "ผลักดันนโยบายที่ก้าวหน้าต่อไป"[30] ปดิพัทธ์ สันติภาดา ส.ส. พรรคก้าวไกล ได้กล่าวว่าพรรคก้าวไกลจะเน้นทำงานการเมืองในสภาและในระดับประเทศเป็นหลัก และการที่คณะก้าวหน้าทำงานในการเมืองท้องถิ่นนั้น "ไม่ได้เป็นเชิงยุทธศาสตร์ทางการเมืองใด ๆ ทั้งสิ้น ในทางกลับกันแล้วคณะของคุณธนาธร และอาจารย์ปิยบุตร ควรจะได้ทำงานในสภา แต่เมื่อไม่เป็นเช่นนั้น ก็ต้องทำงานการเมืองด้านอื่นแทน อย่างการส่งผู้สมัครเลือกตั้งท้องถิ่น"[31]
ในสมัยของสภาชุดที่ 25 พรรคก้าวไกลได้เสนอและผลักดันร่างกฎหมายเข้าสู่สภาเป็นจำนวนมาก เช่น ร่าง พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน[32] ร่าง พ.ร.บ.สุราก้าวหน้า[33] และร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม[34]
ในการเลือกตั้งท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2565 พรรคก้าวไกลได้ส่ง วิโรจน์ ลักขณาอดิศร ส.ส. พรรคก้าวไกล ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร[35] และส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครครบทุก 50 เขต[36] โดยวิโรจน์ได้คะแนนทั้งสิ้น 253,938 เป็นอันดับสามในการเลือกตั้ง แม้จะไม่ได้ตำแหน่งผู้ว่าฯ แต่ก็สามารถครองสมาชิกสภากรุงเทพมหานครได้ 14 ที่นั่ง เป็นอันดับสองรองมาจากพรรคเพื่อไทย
ใน พ.ศ. 2565 นักการเมืองพรรคเพื่อไทยบางคนกล่าวหาพรรคก้าวไกลที่ไม่ใช้วิธีการไม่เข้าร่วมประชุมเช่นกันว่าต้องการสูตรคำนวณ ส.ส. บัญชีรายชื่อแบบ "หาร 500"[37][38] ขณะที่พิธายืนยันว่าพรรคสนับสนุน "สูตรหาร 100"[39]
พรรคก้าวไกลมีนโยบายแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112[40] นอกจากนี้ยังมีแอปพลิเคชัน "ก้าวไกลทูเดย์" เพื่อรวบรวมกระแสทางโซเชียลมีเดียให้ประชาชนสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับพรรคได้[41]
ต่อมาในวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 หรือภายหลังการชนะเลือกตั้ง 2 วัน พรรคก้าวไกลนำโดย ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ รองเลขาธิการฝ่ายพัฒนาระบบข้อมูลและดิจิทัล ได้สร้างห้องดิสคอร์ดในชื่อ "ก้าว Geek"[42] เพื่อเป็นพื้นที่ในการระดมความคิดเห็นในการแก้ไขปัญหาประเทศในหลายประเด็น และต่อมาเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2566 พรรคมีมติแต่งตั้ง ภคมน หนุนอนันต์ เป็นรองโฆษกพรรคคนล่าสุด[43]
ต่อมาเมื่อวันที่ 15 กันยายน พิธาซึ่งถูกสั่งหยุดปฏิบัติหน้าที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในขณะนั้น ประกาศลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรค เพื่อเปิดโอกาสให้หัวหน้าพรรคคนใหม่ที่ปฏิบัติหน้าที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอยู่ ขึ้นดำรงตำแหน่งผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร[44] โดยมีการประชุมใหญ่วิสามัญเพื่อเลือกกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่เมื่อวันที่ 23 กันยายน และที่ประชุมมีมติเลือกชัยธวัช ตุลาธน เป็นหัวหน้าพรรคคนใหม่[45] ส่วนตำแหน่งเลขาธิการพรรคเป็นของอภิชาติ ศิริสุนทร และโฆษกพรรคเป็นของพริษฐ์ วัชรสินธุ นอกจากนี้ ยังมีการแต่งตั้งคณะที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคก้าวไกล เพื่อขับเคลื่อนภารกิจของพรรคนอกสภาเป็นหลัก โดยมีพิธาเป็นประธานที่ปรึกษา และมีที่ปรึกษาอีก 2 คน คือ วีระยุทธ กาญจน์ชูฉัตร ทีมเศรษฐกิจของพรรค และ เดชรัต สุขกำเนิด ผู้อำนวยการศูนย์นโยบายเพื่ออนาคต ซึ่งชัยธวัชให้สัมภาษณ์ว่าการปรับเปลี่ยนกรรมการบริหารพรรคนี้เป็นเพียงการปรับเปลี่ยนเป็นการชั่วคราวในช่วงที่พิธาไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้[46]
และในวันถัดมาคือวันที่ 24 กันยายน พรรคก้าวไกลได้จัดงาน "ก้าวต่อไป ก้าวไกลทั้งแผ่นดิน" พริษฐ์ในฐานะโฆษกพรรค ได้นำเสนอการขับเคลื่อนนโยบายของพรรคในแต่ละด้านของ สส. ในพรรค โดยจะแบ่งการทำงานออกเป็น 15 ทีม เพื่อดูแลในงานด้านต่าง ๆ ที่เป็นประเด็นสำคัญในสังคม ตามความเชี่ยวชาญของ สส. แต่ละคนของพรรค[47] ดังนี้
- พัฒนาเศรษฐกิจ
- เกษตร-ประมง
- ที่ดิน
- แรงงาน-สวัสดิการ
- ท่องเที่ยว
- เศรษฐกิจสร้างสรรค์
- พัฒนาการเมือง
- ความหลากหลาย
- ทหาร-ตำรวจ
- กระจายอำนาจ-ราชการ
- สาธารณสุข
- การศึกษา
- คมนาคม
- สาธารณูปโภค
- สิ่งแวดล้อม
บุคลากร
หัวหน้าพรรค
.jpg/440px-Chaitawat_Tulathon_(cropped).jpg)
พรรคร่วมพัฒนาชาติไทย (ครั้งที่ 1) | |||
---|---|---|---|
ลำดับที่ | ชื่อ | เริ่ม | สิ้นสุด |
1 | ศักดิ์ชาย พรหมโท | 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 | 15 ธันวาคม พ.ศ. 2560 |
- | สราวุฒิ สิงหกลางพล | 15 ธันวาคม พ.ศ. 2560 | 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 |
2 | ธนพล พลเยี่ยม | 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 | - |
พรรคผึ้งหลวง | |||
3 | ก้องภพ วังสุนทร | 19 มกราคม พ.ศ. 2562 | 7 ธันวาคม พ.ศ. 2562 |
พรรคร่วมพัฒนาชาติไทย (ครั้งที่ 2) | |||
(2) | ธนพล พลเยี่ยม | 7 ธันวาคม พ.ศ. 2562 | 19 มกราคม พ.ศ. 2563 |
พรรคก้าวไกล | |||
4 | ราเชนธร์ ติยะวัชรพงศ์ | 19 มกราคม พ.ศ. 2563 | 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 |
- | ปีใหม่ รัฐวงษา | 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 | 14 มีนาคม พ.ศ. 2563 |
5 | พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ | 14 มีนาคม พ.ศ. 2563 | 23 กันยายน พ.ศ. 2566 |
6 | ชัยธวัช ตุลาธน | 23 กันยายน พ.ศ. 2566 | ปัจจุบัน |
เลขาธิการพรรค
พรรคร่วมพัฒนาชาติไทย (ครั้งที่ 1) | |||
---|---|---|---|
ลำดับที่ | ชื่อ | เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ |
1 | สมพร ศรีมหาพรหม | 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 | 15 ธันวาคม พ.ศ. 2560 |
15 ธันวาคม พ.ศ. 2560 (รักษาการ) | 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 | ||
2 | อังกูร ไผ่แก้ว | 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 | ? |
พรรคผึ้งหลวง | |||
3 | วิรุฬห์ ชลหาญ | 19 มกราคม พ.ศ. 2562 | 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 |
- | นฤมล พานโคกสูง (รองเลขาธิการพรรค) | 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 (รักษาการ) | 7 ตุลาคม พ.ศ. 2562 |
4 | เจษฎา พรหมดี | 7 ตุลาคม พ.ศ. 2562 | 7 ธันวาคม พ.ศ. 2562 |
พรรคร่วมพัฒนาชาติไทย (ครั้งที่ 2) | |||
(2) | อังกูร ไผ่แก้ว | 7 ธันวาคม พ.ศ. 2562 | 19 มกราคม พ.ศ. 2563 |
พรรคก้าวไกล | |||
5 | ปีใหม่ รัฐวงษา | 19 มกราคม พ.ศ. 2563 | 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 |
18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 (รักษาการ) | 14 มีนาคม พ.ศ. 2563 | ||
6 | ชัยธวัช ตุลาธน | 14 มีนาคม พ.ศ. 2563 | 23 กันยายน พ.ศ. 2566 |
7 | อภิชาติ ศิริสุนทร | 23 กันยายน พ.ศ. 2566 | ปัจจุบัน |
กรรมการบริหารพรรค
ลำดับที่ | ชื่อ | ตำแหน่ง[48] | |
---|---|---|---|
หลัก | ฝ่าย | ||
1 | ชัยธวัช ตุลาธน | หัวหน้าพรรค | |
2 | อภิชาติ ศิริสุนทร | เลขาธิการพรรค | |
3 | ณธีภัสร์ กุลเศรษฐสิทธิ์ | เหรัญญิกพรรค | |
4 | ณกรณ์พงศ์ ศุภนิมิตตระกูล | นายทะเบียนสมาชิกพรรค | |
5 | สมชาย ฝั่งชลจิตร | กรรมการบริหารพรรค | สัดส่วนภาคใต้ |
6 | อภิสิทธิ์ พรมฤทธิ์ | สัดส่วนภาคเหนือ | |
7 | เบญจา แสงจันทร์ | สัดส่วนภาคตะวันออก | |
8 | สุเทพ อู่อ้น | สัดส่วนปีกแรงงาน |
บุคลากรพรรคในตำแหน่งอื่น ๆ
ลำดับที่ | ชื่อ | ตำแหน่ง[48] | |
---|---|---|---|
หลัก | ฝ่าย | ||
1 | พิจารณ์ เชาวพัฒนวงศ์ | รองหัวหน้าพรรค | กิจการสภา |
2 | ณัฐวุฒิ บัวประทุม | กฎหมาย | |
3 | พลตำรวจตรี สุพิศาล ภักดีนฤนาถ | การเมืองและกิจการพิเศษ | |
4 | ศิริกัญญา ตันสกุล | นโยบาย | |
5 | สุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ | รองเลขาธิการพรรค | ความร่วมมือระหว่างพรรคการเมือง |
6 | ณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ | กิจการภายในและการเลือกตั้ง | |
7 | ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ | การพัฒนาระบบข้อมูล และดิจิทัล | |
8 | พริษฐ์ วัชรสินธุ | โฆษกพรรค | |
9 | กรุณพล เทียนสุวรรณ | รองโฆษกพรรค | |
10 | ภคมน หนุนอนันต์ |
คณะที่ปรึกษาหัวหน้าพรรค
ลำดับที่ | ชื่อ | ตำแหน่ง |
---|---|---|
1 | พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ | ประธานที่ปรึกษา |
2 | วีระยุทธ กาญจน์ชูฉัตร | ที่ปรึกษา |
3 | เดชรัต สุขกำเนิด |
การเลือกตั้ง
.jpg/440px-Move_Forward_Party_speech_at_Samyan_Mitrtown,_Bangkok_22.04.2023_(21).jpg)
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 พรรคก้าวไกลได้ที่นั่งในสภาจำนวน 151 ที่นั่ง แบบแบ่งเขต 112 ที่นั่ง แบบบัญชีรายชื่อ 39 ที่นั่ง [49] ส่งผลให้กลายเป็นพรรคอันดับ 1 เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล และชัยธวัชได้ทำการเชื้อเชิญอดีตพรรคร่วมฝ่ายค้านในรัฐบาลปี พ.ศ. 2562 ซึ่งมีจำนวน 4 พรรค ประกอบด้วย พรรคเพื่อไทย, พรรคประชาชาติ, พรรคไทยสร้างไทย และ พรรคเสรีรวมไทย[50] พร้อมด้วยพรรคขนาดเล็กอีก 3 พรรค ประกอบด้วย พรรคเป็นธรรม[51], พรรคพลังสังคมใหม่, และ พรรคเพื่อไทรวมพลัง ร่วมจัดตั้งรัฐบาล[52]
วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 ณธีภัสร์ กุลเศรษฐสิทธิ์ เหรัญญิกพรรคและว่าที่ ส.ส. บัญชีรายชื่อลำดับที่ 27 แถลงข่าวลาออกจากการเป็นว่าที่ ส.ส. หลังจากถูกจับข้อหาเมาแล้วขับในคืนก่อนหน้า[53] ส่งผลให้ สุเทพ อู่อ้น ผู้สมัคร ส.ส. บัญชีรายชื่อ ในลำดับที่ 40 และกรรมการบริหารพรรคสัดส่วนปีกแรงงาน ได้รับการเลื่อนลำดับขึ้นเป็นว่าที่ ส.ส. แทนณธีภัสร์[54]

ต่อมาเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 8 พรรคร่วมรัฐบาลดังกล่าวจัดการแถลงข่าวจัดตั้งรัฐบาล ซึ่งทั้ง 8 พรรคมีมติสนับสนุนพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรค และบุคคลที่ได้รับเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีจากพรรคก้าวไกล เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ของประเทศไทย, จัดตั้งคณะทำงานเปลี่ยนผ่านรัฐบาลเพื่อแก้ปัญหาด้านต่าง ๆ[55] และจัดทำบันทึกความเข้าใจ (MOU) จัดตั้งรัฐบาล ซึ่งถือเป็นการจัดตั้งรัฐบาลด้วยวิธีนี้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเมืองไทย[56] โดยได้ลงนามบันทึกความเข้าใจเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 ซึ่งเป็นวันครบรอบ 9 ปีของเหตุการณ์รัฐประหาร พ.ศ. 2557 โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ในเวลาที่ใกล้เคียงกับเวลารัฐประหาร[57] โดยบันทึกความเข้าใจฉบับนี้ยึดหลักการผลักดันนโยบายที่ไม่กระทบรูปแบบของรัฐ การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และการดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดละเมิดไม่ได้ของพระมหากษัตริย์ ซึ่งหมายถึง ไม่มีวาระการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 อยู่ในบันทึกความเข้าใจฉบับนี้[58] ประกอบด้วยวาระร่วม 23 ข้อ และแนวทางปฏิบัติ 5 ข้อ ซึ่งบรรจุประเด็นสำคัญต่าง ๆ เช่น การจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ผ่านสภาร่างรัฐธรรมนูญ, สมรสเท่าเทียม, การปฏิรูปกองทัพและตำรวจ, การเกณฑ์ทหารแบบสมัครใจ, การกระจายอำนาจ และการฟื้นฟูเศรษฐกิจ เป็นต้น[59]
ในการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2566 เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม ชลน่าน ศรีแก้ว สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดน่าน และหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ได้เสนอชื่อพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นนายกรัฐมนตรี แต่ทว่าคะแนนมติไม่ถึงเกณฑ์ตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ได้กำหนดไว้[60] จึงได้มีการขอให้ลงมติรอบใหม่เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม โดยสุทิน คลังแสง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ และรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ได้เสนอชื่อพิธาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง แต่ถูกประท้วงว่าเป็นญัตติซ้ำ[61] และระหว่างการอภิปราย ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำสั่งให้พิธาหยุดปฏิบัติหน้าที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากกรณีถือหุ้นไอทีวี[62] ผลสุดท้าย การเสนอชื่อครั้งนี้ถูกรัฐสภาลงมติว่าเป็นญัตติซ้ำ ส่งผลให้ไม่สามารถเสนอชื่อพิธาเป็นนายกรัฐมนตรีได้อีกในสมัยประชุมเดียวกัน[63]
ดังนั้น ในวันที่ 21 กรกฎาคม พรรคก้าวไกล โดยเลขาธิการพรรค ชัยธวัช ตุลาธน จึงประกาศให้สิทธิ์การเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลแก่พรรคเพื่อไทย เขายังระบุว่ามีองคาพยพของบางกลุ่มการเมืองไม่ยอมให้พรรคก้าวไกลจัดตั้งรัฐบาลสำเร็จ[64]
แต่ภายหลังจากที่เพื่อไทยยกเลิกข้อตกลงร่วมกันของ 8 พรรคร่วมเดิม และไปจัดตั้งรัฐบาลร่วมกับพรรคที่ถูกกล่าวว่าเป็นขั้วรัฐบาลเดิม พร้อมกับมีพรรคพลังประชารัฐและพรรครวมไทยสร้างชาติเข้าร่วมด้วย พรรคก้าวไกลจึงประกาศลงมติไม่เห็นชอบให้กับผู้ที่จะถูกเสนอชื่อตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของพรรคเพื่อไทย เพราะขัดกับเจตจำนงที่ประชาชนมอบให้ และขณะเดียวกันก็จะไม่เสนอชื่อพิธาลงแข่งในครั้งต่อไป โดยก่อนหน้านี้พรรคก้าวไกลให้ สส. จัดผลสำรวจทั้งในสื่อสังคม และถามความคิดเห็นจากประชาชนในพื้นที่ โดยเสียงส่วนใหญ่เห็นว่า พรรคก้าวไกลควรลงมติไม่เห็นชอบ[65] และเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคก้าวไกลที่อยู่ในที่ประชุมร่วมของรัฐสภาทั้งหมด ซึ่งมีจำนวน 149 คน ได้ลงมติ "ไม่เห็นชอบ" ให้เศรษฐา ทวีสิน ผู้ได้รับเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีของพรรคเพื่อไทย ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี[66]
หลังการประชุมดังกล่าวเสร็จสิ้น ชัยธวัชประกาศว่าพรรคพร้อมที่จะทำงานในฐานะฝ่ายค้าน[67] อย่างไรก็ตาม พิธาซึ่งเป็นหัวหน้าพรรคก้าวไกลในขณะนั้นไม่สามารถทำหน้าที่ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรได้ เนื่องจากอยู่ระหว่างที่ศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ดังนั้นเมื่อวันที่ 15 กันยายน พิธาจึงประกาศลาออกจากหัวหน้าพรรคก้าวไกล เพื่อให้พรรคก้าวไกลดำเนินการเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคที่ยังปฏิบัติหน้าที่อยู่มาเป็นหัวหน้าพรรคคนใหม่ เพื่อทำหน้าที่ผู้นำฝ่ายค้าน ซึ่งจากการลาออกจากหัวหน้าพรรคของพิธาส่งผลให้คณะกรรมการบริหารพรรคชุดเดิมพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ โดยมีการเลือกหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่เมื่อวันที่ 23 กันยายน[44] อย่างไรก็ตาม เนื่องจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 106 ระบุว่า ผู้นำฝ่ายค้านจะต้องเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เป็นหัวหน้าพรรคที่มีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากที่สุดในกลุ่มพรรคการเมืองที่ไม่มีสมาชิกเป็นรัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎร และรองประธานสภาผู้แทนราษฎร แต่ปดิพัทธ์ สันติภาดา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิษณุโลกของพรรคก้าวไกล ยังคงดำรงตำแหน่งรองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 1 จึงส่งผลให้หัวหน้าพรรคก้าวไกลไม่สามารถดำรงตำแหน่งผู้นำฝ่ายค้านได้[68] ในที่สุด เมื่อวันที่ 28 กันยายน ที่ประชุมร่วมระหว่างกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสังกัดพรรคก้าวไกล จึงมีมติให้ขับปดิพัทธ์ออกจากพรรค[69]
ผลการเลือกตั้งทั่วไป
การเลือกตั้ง | จำนวนที่นั่ง | คะแนนเสียงทั้งหมด | สัดส่วนคะแนนเสียง | ที่นั่งเปลี่ยน | ผลการเลือกตั้ง | ผู้นำเลือกตั้ง |
---|---|---|---|---|---|---|
2566 | 151 / 500 | 14,438,851 | 36.54% | ![]() | ฝ่ายค้าน | พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ |
ผลการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
การเลือกตั้ง | ผู้สมัคร | คะแนนเสียงทั้งหมด | สัดส่วนคะแนนเสียง | ผลการเลือกตั้ง |
---|---|---|---|---|
2565 | วิโรจน์ ลักขณาอดิศร | 253,851 | 9.49% | ![]() |
ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
การเลือกตั้ง | จำนวนที่นั่ง | คะแนนเสียงทั้งหมด | สัดส่วนคะแนนเสียง | ที่นั่งเปลี่ยน | ผลการเลือกตั้ง |
---|---|---|---|---|---|
2565 | 14 / 50 | 485,830 | 20.85% | ![]() | เสียงข้างมากร่วมกับพรรคเพื่อไทย |
กิจกรรมอื่น ๆ ของพรรค
ศูนย์นโยบายเพื่ออนาคต
การแยกไปตั้งพรรค
พรรคก้าวไกลเคยมีสมาชิกพรรคที่ลาออกไปตั้งพรรคการเมืองใหม่ หรือย้ายไปเป็นกรรมการบริหารพรรค โดยมีดังนี้
- พรรครวมไทยยูไนเต็ด นำโดย วินท์ สุธีรชัย ร่วมกับ วรนัยน์ วานิชกะ[70]
- พรรคเส้นด้าย นำโดย คริส โปตระนันทน์ ร่วมกับพีรพล กนกวลัย สมาชิกสภากรุงเทพมหานครเขตพญาไท พรรคก้าวไกล[71]
ดูเพิ่ม
หมายเหตุ
- ↑ หลังจากการเลือกตั้งมีสมาชิกหนึ่งคนย้ายไป พรรคเส้นด้าย หนึ่งคนย้ายไปพรรคเพื่อไทยและอีกหนึ่งคนลาออกจากพรรค
อ้างอิง
- ↑ "ข้อมูลสถิติสมาชิกพรรคก้าวไกล". พรรคก้าวไกล. สืบค้นเมื่อ 2023-06-16.
- ↑ "Move Forward Party to be Future home for 55 FFP MPs". Bangkok Post. Bangkokpost.com. สืบค้นเมื่อ 6 May 2020.
- ↑ "Stepping out of shadows". Bangkok Post. Bangkokpost.com. สืบค้นเมื่อ 6 May 2020.
- ↑ "'Progressive Movement' born". Bangkok Post. Bangkokpost.com. สืบค้นเมื่อ 6 May 2020.
- ↑ "Moving Forward: 55 Disbanded MPs Join New Party". Khaosodenglish.com. 9 March 2020. สืบค้นเมื่อ 6 May 2020.
- ↑ Reuters Editorial (5 May 2020). "Thai lawmakers from dissolved prominent opposition party to join new party". Reuters. สืบค้นเมื่อ 6 May 2020.
- ↑ Boonbandit, Tappanai (9 March 2020). "Moving Forward: 55 Disbanded MPs Join New Party". Khaosod English. สืบค้นเมื่อ 13 March 2020.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "New Thai group to replace dissolved Future Forward Party, SE Asia News & Top Stories". The Straits Times. 9 March 2020. สืบค้นเมื่อ 6 May 2020.
- ↑ "50 MPs join Move Forward". Bangkok Post. Bangkokpost.com. สืบค้นเมื่อ 6 May 2020.
- ↑ "Change at the top?". Bangkok Post. Bangkokpost.com. สืบค้นเมื่อ 6 May 2020.
- ↑ Regan, Helen (10 March 2020). "His party was banned. He faces jail. But Thailand's Thanathorn Juangroongruangkit vows to fight on - CNN". Edition.cnn.com. สืบค้นเมื่อ 6 May 2020.
- ↑ "'ธนาธร' ชี้ไทยไม่มีประชาธิปไตย ส่งผลทั้งต่อคนไทย-ประเทศเพื่อนบ้าน ถึงประชาคมโลก". มติชน. 25 พฤษภาคม 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 พฤษภาคม 2022.
- ↑ "About Us". SocDem Asia. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2022. สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2022.
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง รับจดแจ้งการจัดตั้งพรรคร่วมพัฒนาชาติไทย
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคร่วมพัฒนาชาติไทย จาก ราชกิจจานุเบกษา 15 Feb 2018
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรค และคณะกรรมการบริหารพรรคร่วมพัฒนาชาติไทย จาก ราชกิจจานุเบกษา 22 Mar 2019
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคร่วมพัฒนาชาติไทย จาก ราชกิจจานุเบกษา 22 Mar 2019
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรค และคณะกรรมการบริหารพรรคผึ้งหลวง (ชื่อเดิมพรรคร่วมพัฒนาชาติไทย) จาก ราชกิจจานุเบกษา 6 Jun 2019
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรคผึ้งหลวง จาก ราชกิจจานุเบกษา 10 Oct 2019
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรคผึ้งหลวง จาก ราชกิจจานุเบกษา 13 Feb 2020
- ↑ ประกาศลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคแต่ยังคงเป็นสมาชิกพรรค 5 Dec 2019
- ↑ "ก่อน ส.ส.ส้มเทกโอเวอร์? ใครเป็นใคร-ทำความรู้จัก'พรรคร่วมพัฒนาชาติไทย-ผึ้งหลวง'". สำนักข่าวอิศรา. 2020-03-07.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรค และคณะกรรมการบริหารพรรคร่วมพัฒนาชาติไทย (ชื่อเดิมพรรคผึ้งหลวง) จาก ราชกิจจานุเบกษา 16 Apr 2020
- ↑ ประชุมใหญ่สามัญ 12 Jan 2020
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรค และคณะกรรมการบริหารพรรคก้าวไกล (ชื่อเดิมพรรคร่วมพัฒนาชาติไทย) จาก ราชกิจจานุเบกษา 7 May 2020
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคก้าวไกล จาก ราชกิจจานุเบกษา 14 May 2020
- ↑ "ไม่ผิดคาด "ทิม พิธา" นั่งหัวหน้าพรรคก้าวไกล พร้อมเปิดตัวโลโก้ใหม่". www.thairath.co.th. 2020-03-14.
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรค และคณะกรรมการบริหารพรรคก้าวไกล จาก ราชกิจจานุเบกษา 20 Oct 2020
- ↑ Pornthida (2022-04-30). "ก้าวไกล จัดทัพใหม่สู้เลือกตั้ง แก้ข้อบังคับเอาผิดคุกคามทางเพศ". ประชาชาติธุรกิจ.
- ↑ ตรีสุวรรณ, หทัยกาญจน์ (8 มีนาคม 2020). "พรรคก้าวไกล : ทิม-พิธาประกาศสานต่ออุดมการณ์อนาคตใหม่ นำทีม 55 ส.ส. ย้าย 'บ้านใหม่ หัวใจเดิม'". บีบีซี.
- ↑ "เลือกตั้งท้องถิ่น 'ก้าวไกล-ก้าวหน้า' แยกกันเดิน ไม่ร่วมกันตี". กรุงเทพธุรกิจ. 18 มิถุนายน 2020.
- ↑ "'ประยุทธ์' ปัดตก 'ร่าง พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน' ฉบับก้าวไกลที่มุ่งยกระดับคุณภาพชีวิตแรงงาน". prachatai.com. 2020-11-25.
- ↑ workpointTODAY Writer (8 มิถุนายน 2022). "สภาฯ รับหลักการ ร่างพ.ร.บ.สุราก้าวหน้า ตั้งกมธ.วิสามัญ แปรญัตติ 7 วัน ประชาชน รายย่อยได้ลุ้น ผลิตเหล้า-เบียร์เอง". เวิร์คพอยท์ทูเดย์.
- ↑ "ร่าง พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม-คู่ชีวิต : ต้องผ่านขั้นตอนอะไรบ้าง ก่อนบังคับใช้เป็นกฎหมาย". บีบีซี. 15 มิถุนายน 2022.
- ↑ ไทยรัฐออนไลน์ (23 มกราคม 2022). ""ก้าวไกล" เปิดตัว "วิโรจน์ ลักขณาอดิศร" ลงชิงผู้ว่าฯ กทม.ตามคาด". ไทยรัฐ.
- ↑ "ส.ก.ก้าวไกล มาแรง ลุ้นเสียงข้างมากสภา กทม". ประชาชาติธุรกิจ. 12 พฤษภาคม 2022.
- ↑ "แพแตก! 'บิ๊กเพื่อไทย' ประณาม 'ก้าวไกล' เล่นบทสองหน้า ปู้ยี่ปู้ยำประชาธิปไตย". ไทยโพสต์. 8 July 2022. สืบค้นเมื่อ 31 August 2022.
- ↑ "สูตรหาร 500 เอฟเฟกต์! ส.ส.วัน ลั่นผมมีสิทธิ์ที่จะคิด 'ก้าวไกล' เล่นบทสองหน้า". ไทยโพสต์. 8 July 2022. สืบค้นเมื่อ 31 August 2022.
- ↑ ""พิธา" ยันจุดยืน "ก้าวไกล" หนุนสูตรหาร 100 เชื่อไม่มียื้อกม.เลือกตั้งเกิน 180 วัน". สยามรัฐ. 4 August 2022. สืบค้นเมื่อ 31 August 2022.
- ↑ "อนาคตก้าวไกล กลางดงต้านนโยบายแก้ ม. 112". BBC News ไทย. 24 October 2022. สืบค้นเมื่อ 27 January 2023.
- ↑ matichon (2023-01-28). "'ก้าวไกล' จัดประชุมใหญ่ 'ชัยธวัช' ปลื้มสมาชิกแซงสมัยอนาคตใหม่ ผุดแอพพ์ 'ก้าวไกลทูเดย์'". มติชนออนไลน์.
- ↑ "รรคก้าวไกลเปิดห้องดิสคอร์ด ก้าว Geek รวมตัวคน Geek ระดมความคิดแก้ไขปัญหาประเทศ". beartai.com. 2023-05-16.
- ↑ "เลือกตั้ง 2566 : ก้าวไกลตั้ง ลิซ่า ภคมน อดีตสื่อมวลชน เป็นรองโฆษกพรรค เสริมทัพกองโฆษกพรรคให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น". เดอะสแตนดาร์ด. 2023-06-19. สืบค้นเมื่อ 2023-08-17.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 44.0 44.1 "ด่วน! พิธา ลาออกหัวหน้าพรรค เปิดทางก้าวไกล รับตำแหน่งผู้นำฝ่ายค้าน". มติชน. 2023-09-15. สืบค้นเมื่อ 2023-09-15.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ไม่พลิก! ที่ประชุมมีมติเอกฉันท์ 'ชัยธวัช' หัวหน้าพรรคก้าวไกล คนใหม่". ข่าวสด. 2023-09-23. สืบค้นเมื่อ 2023-09-23.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ชัยธวัชเปิดใจเป็นเพียง "ปรับทัพชั่วคราว" พร้อมถอยเมื่อพิธากลับมาเป็นส.ส." โพสต์ทูเดย์. 2023-09-23. สืบค้นเมื่อ 2023-09-23.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ""พริษฐ์" ประกาศบทบาท "ก้าวไกล" ฐานะฝ่ายค้าน จ่อเปิดสมรภูมิสภาฯ-เน้นตรวจสอบ". bangkokbiznews. 2023-09-24.
- ↑ 48.0 48.1 "บุคลากรพรรค - พรรคก้าวไกล".
- ↑ "เลือกตั้ง 2566 : กกต.แถลงผลเลือกตั้ง "ก้าวไกล"อันดับหนึ่ง 18 พรรคได้ ส.ส.เข้าสภา". pptvhd36.com. 2023-05-15.
- ↑ ""ชัยธวัช" รับบทมือดีล "พรรคฝ่ายค้านเดิม" ตั้งรัฐบาล นัดคุย "พท." เป็นหลัก "พิธา" ต่อสายทีละพรรค เล็งส่งคนถก "ส.ว." ปรับความเข้าใจ". สยามรัฐ. 2023-05-16. สืบค้นเมื่อ 2023-08-25.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "เลือกตั้ง 2566 : ภาพแรกแกนนำ 6 พรรค "จับมือ" ตั้งรัฐบาลร่วมกับก้าวไกล". บีบีซีไทย. 2023-05-17. สืบค้นเมื่อ 2023-06-10.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "เกาะติดสูตรจัดตั้งรัฐบาล ณ วันที่ 19 พฤษภาคม 2566". เดอะ แมทเทอร์. 2023-05-19. สืบค้นเมื่อ 2023-06-10.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "เตอร์ ณธีภัสร์" ว่าที่ ส.ส.พรรคก้าวไกล ประกาศลาออก ขอโทษปมเมาแล้วขับ
- ↑ เลือกตั้ง2566 : "สุเทพ อู่อ้น" เลื่อนนั่ง ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ แทน "ณธีภัสร์"
- ↑ "พรรคร่วมรัฐบาล จ่อลงนาม MOU 22 พ.ค. ครบรอบ 9 ปีรัฐประหาร". ประชาชาติธุรกิจ. 2023-05-18. สืบค้นเมื่อ 2023-06-10.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "เลือกตั้ง 2566 : แก้ ม. 112-นิรโทษกรรมคดีการเมือง นโยบายก้าวไกลที่หายไปจาก MOU ตั้งรัฐบาล 8 พรรค". บีบีซีไทย. 2023-05-22. สืบค้นเมื่อ 2023-05-23.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "เลือกตั้ง 2566 : แก้ ม. 112-นิรโทษกรรมคดีการเมือง นโยบายก้าวไกลที่หายไปจาก MOU ตั้งรัฐบาล 8 พรรค". บีบีซีไทย. 2023-05-22. สืบค้นเมื่อ 2023-05-23.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "เลือกตั้ง 2566 : แก้ ม. 112-นิรโทษกรรมคดีการเมือง นโยบายก้าวไกลที่หายไปจาก MOU ตั้งรัฐบาล 8 พรรค". บีบีซีไทย. 2023-05-22. สืบค้นเมื่อ 2023-05-23.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "เลือกตั้ง2566 : เปิด "MOU 8 พรรค" แถลงจัดตั้งรัฐบาล". พีพีทีวี. 2023-05-22. สืบค้นเมื่อ 2023-05-23.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ผลโหวตนายก : "พิธา" ไม่ผ่านรอบแรก". ไทยพีบีเอส. 2023-07-13. สืบค้นเมื่อ 2023-08-25.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "เริ่มแล้ว! โหวตนายกฯ รอบ 2 'สุทิน' เสนอชื่อ 'พิธา' อีกรอบ 'อัครเดช' ลุกประท้วง". วอยซ์ทีวี. 2023-07-19. สืบค้นเมื่อ 2023-08-25.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ด่วน ศาลรัฐธรรมนูญ รับคำร้องหุ้นสื่อ "พิธา" พร้อมสั่งหยุดปฏิบัติหน้าที่ ส.ส. ทันที". ไทยรัฐ. 2023-07-19. สืบค้นเมื่อ 2023-07-19.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "โหวตนายกฯ รอบ 2 : ถก 7 ชั่วโมง โหวตซ้ำ "พิธา" นายกฯ รอบ 2 ไม่ได้". ไทยพีบีเอส. 2023-07-19. สืบค้นเมื่อ 2023-08-25.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ก้าวไกล ส่งไม้ต่อ เพื่อไทย เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล". mcot.net. 2023-07-21.
- ↑ "'ก้าวไกล' ไม่โหวตเห็นชอบให้แคนดิเดตนายกฯ ของรัฐบาลข้ามขั้ว ขัดเจตนารมณ์ประชาชน ดันวาระประชาชนไม่ได้". prachatai.com.
- ↑ "Thai PBS เลือกนายกฯ #เลือกอนาคตประเทศไทย". Thai PBS. สืบค้นเมื่อ 2023-08-23.
- ↑ "ก้าวไกล ประกาศเป็นฝ่ายค้านเชิงรุก เดินหน้าตรวจสอบฝ่ายบริหาร-ผลักดันกฎหมายก้าวหน้า". pptvhd36.com. 2023-08-22.
- ↑ "ชี้ "ปดิพัทธ์" ไม่ลาออก รองปธ.สภา "ผู้นำฝ่ายค้าน" หล่นไปที่หัวหน้า ปชป". ไทยรัฐ. 2023-08-25. สืบค้นเมื่อ 2023-08-25.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ด่วน! 'ก้าวไกล' ขับ 'ปดิพัทธ์' ออกจากสมาชิกพรรค ลุยงานฝ่ายค้านเต็มที่". กรุงเทพธุรกิจ. 2023-09-28. สืบค้นเมื่อ 2023-09-28.
- ↑ "4 แกนนำเปิดทีม 'รวมไทย ยูไนเต็ด' ชูปฏิรูปการเมือง". workpointTODAY.
- ↑ "จับตาเลือกตั้ง เส้นด้ายเปลี่ยนรูปโปรไฟล์ เป็น 'พรรคเส้นด้าย' เตรียมเซอร์ไพรส์วันอาทิตย์นี้". workpointTODAY.
แหล่งข้อมูลอื่น
- พรรคก้าวไกล ที่เฟซบุ๊ก
- พรรคก้าวไกล ที่ทวิตเตอร์
- พรรคก้าวไกล ที่ยูทูบ 1
- พรรคก้าวไกล ที่ยูทูบ 2