นายกเมืองพัทยา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นายกเมืองพัทยา
ผู้ดำรงตำแหน่งคนปัจจุบัน
ปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์

ตั้งแต่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2565[1]
ผู้แต่งตั้งการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน
วาระ4 ปี
(ติดต่อกันได้ไม่เกิน 2 วาระ)
ผู้ประเดิมตำแหน่งพลเรือเอก สถาปน์ เกยานนท์
สถาปนา23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2521
เว็บไซต์[1]

นายกเมืองพัทยา เป็นตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายบริหารของเขตปกครองพิเศษ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ เมืองพัทยา เขตปกครองพิเศษในพื้นที่จังหวัดชลบุรี มีที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสี่ปี

การเลือกตั้งและคุณสมบัติ

การเลือกตั้ง

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542 มาตรา 41[2] ระบุว่า "ให้เมืองพัทยามีนายกเมืองพัทยาคนหนึ่งซึ่งเลือกตั้งโดยราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเมืองพัทยา การเลือกตั้งนายกเมืองพัทยาให้กระทำโดยวิธีออกเสียงลงคะแนนโดยตรงและลับ หลักเกณฑ์และวิธีการสมัครรับเลือกตั้งและการเลือกตั้งนายกเมืองพัทยา ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น"

คุณสมบัติ

ผู้มีสิทธิลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกเมืองพัทยาต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

  1. มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
  2. มีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบห้าปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง
  3. สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
  4. มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเมืองพัทยาเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า หนึ่งปีนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง หรือเป็นผู้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเมืองพัทยาในวันสมัคร รับเลือกตั้งและได้เสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยภาษีโรงเรือนและที่ดิน หรือกฎหมายว่าด้วยภาษี บำรุงท้องที่ ให้เมืองพัทยาในปีที่สมัครหรือในปีก่อนปีที่สมัครหนึ่งปี

อำนาจหน้าที่ของนายกเมืองพัทยา

ตามกฎหมายปัจจุบันคือ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542[3] ในมาตรา 48 กำหนดให้นายกเมืองพัทยา มีอำนาจหน้าที่ดังนี้

  1. กำหนดนโยบายและรับผิดชอบในการบริหารราชการของเมืองพัทยาให้เป็นไป ตามกฎหมาย ข้อบัญญัติ และนโยบาย
  2. สั่ง อนุญาต และอนุมัติเกี่ยวกับราชการของเมืองพัทยา
  3. แต่งตั้งและถอดถอนรองนายกเมืองพัทยา เลขานุการนายกเมืองพัทยา ผู้ช่วย เลขานุการนายกเมืองพัทยา ประธานที่ปรึกษา ที่ปรึกษาหรือคณะที่ปรึกษา
  4. วางระเบียบเพื่อให้งานของเมืองพัทยาเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
  5. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี หรือผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย หรือตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของนายกเมืองพัทยาหรือนายกเทศมนตรีหรือคณะเทศมนตรี

รายชื่อนายกเมืองพัทยา

ลำดับรูปรายชื่อเริ่มวาระสิ้นสุดวาระที่มา
1พลเรือเอก สถาปน์ เกยานนท์23 พฤศจิกายน พ.ศ. 252128 พฤศจิกายน พ.ศ. 2523การเลือกกันเองจากสภาเมืองพัทยา
2อนุศักดิ์ รอดบุญมี8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 252421 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528การเลือกกันเองจากสภาเมืองพัทยา
3โสภณ เพ็ชรตระกูล26 มีนาคม พ.ศ. 25286 พฤษภาคม พ.ศ. 2532การเลือกกันเองจากสภาเมืองพัทยา
4สุชัย รวยริน12 พฤษภาคม พ.ศ. 253215 มีนาคม พ.ศ. 2534การเลือกกันเองจากสภาเมืองพัทยา
5อนุพงษ์ อุดมรัตน์กูลชัย9 กรกฎาคม พ.ศ. 25366 กรกฎาคม พ.ศ. 2538การเลือกกันเองจากสภาเมืองพัทยา
6ไพรัช สุทธิธำรงสวัสดิ์18 กรกฎาคม พ.ศ. 253829 พฤศจิกายน 2542การเลือกกันเองจากสภาเมืองพัทยา
6ไพรัช สุทธิธำรงสวัสดิ์12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 254311 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547การเลือกตั้ง พ.ศ. 2543
7นิรันดร์ วัฒนศาสตร์สาธร27 มีนาคม พ.ศ. 254726 มีนาคม พ.ศ. 2551การเลือกตั้ง พ.ศ. 2547
8อิทธิพล คุณปลื้ม4 พฤษภาคม พ.ศ. 255116 มิถุนายน พ.ศ. 2559การเลือกตั้ง พ.ศ. 2551 และ พ.ศ. 2555
10พลตำรวจตรี อนันต์ เจริญชาศรี[4]16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 256025 กันยายน พ.ศ. 2561การแต่งตั้ง
11สนธยา คุณปลื้ม[5]25 กันยายน พ.ศ. 256125 มีนาคม พ.ศ. 2565[6]การแต่งตั้ง
12ปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์22 พฤษภาคม พ.ศ. 2565ปัจจุบันการเลือกตั้ง พ.ศ. 2565

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. Bhattarada (2022-03-24). "สนธยา คุณปลื้ม ลาออกนายกพัทยา ย้ำยังเล่นการเมือง". ประชาชาติธุรกิจ.
  2. "พรบ.เมืองพัทยา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-04. สืบค้นเมื่อ 2015-04-11.
  3. พ.ร.บ ระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542 มาตราที่ 41-53
  4. คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๖/๒๕๖๐ เรื่อง แต่งตั้งนายกเมืองพัทยา
  5. คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๕/๒๕๖๑ เรื่อง การแก้ไขปัญหาการบริหารราชการเมืองพัทยา
  6. Bhattarada (2022-03-24). "สนธยา คุณปลื้ม ลาออกนายกพัทยา ย้ำยังเล่นการเมือง". ประชาชาติธุรกิจ.

แหล่งข้อมูลอื่น

0.23251581192017