ทางพิเศษประจิมรัถยา
ทางพิเศษประจิมรัถยา | |
---|---|
ทางพิเศษสายศรีรัช–วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร | |
![]() ทางพิเศษสายศรีรัช–วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร (สีม่วงเข้ม) | |
ข้อมูลของเส้นทาง | |
ความยาว | 16.7 กิโลเมตร (10.4 ไมล์) |
ประวัติ | เปิดให้บริการ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2559 |
ทางแยกที่สำคัญ | |
ปลายทางทิศตะวันออก | ![]() |
ปลายทางทิศตะวันตก | ![]() |
ตำแหน่งที่ตั้ง | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | กรุงเทพมหานคร และจังหวัดนนทบุรี |
ระบบทางหลวง | |
ทางพิเศษประจิมรัถยา (ทางพิเศษสายศรีรัช–วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร) เป็นทางพิเศษที่เชื่อมระหว่างฝั่งตะวันตกกับฝั่งตะวันออกของกรุงเทพมหานคร และบางส่วนของจังหวัดนนทบุรี แนวสายทางเริ่มจากถนนกาญจนาภิเษก (บริเวณใกล้โรงงานผลิตน้ำมหาสวัสดิ์ของการประปานครหลวง) มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกผ่านถนนสวนผัก, ถนนราชพฤกษ์ ข้ามคลองบางกอกน้อย ไปยังสะพานพระราม 6 ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาไปยังบางซื่อ และไปเชื่อมต่อกับทางพิเศษศรีรัชบริเวณด้านหน้าสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) หรือหมอชิต 2 เขตจตุจักร[1][2]
ประวัติ
ทางพิเศษประจิมรัถยาสร้างขึ้นตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี และเขตทวีวัฒนา เขตตลิ่งชัน เขตบางพลัด เขตบางกอกน้อย เขตบางซื่อ และเขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2555 โดยเหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากมีความจำเป็นต้องก่อสร้าง ทางพิเศษสายศรีรัช-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ในท้องที่อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี และเขตทวีวัฒนา เขตตลิ่งชัน เขตบางพลัด เขตบางกอกน้อย เขตบางซื่อ และเขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร เพื่ออำนวยความสะดวกและความรวดเร็วแก่การจราจรและการขนส่งอันเป็นกิจการสาธารณูปโภค ในการนี้สมควรกำหนดเขตที่ดิน ในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่ดังกล่าว เพื่อให้เจ้าหน้าที่ หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่มีสิทธิเข้าไปทำการสำรวจ และเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนที่แน่นอน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้[3] และมีวัตถุประสงค์ เพื่อขยายโครงข่ายของทางพิเศษในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลในทางทิศตะวันตก เพื่อแบ่งเบาปริมาณจราจรระดับดินและระบายการจราจรทางด้านทิศตะวันตก ระหว่างกรุงเทพมหานครและจังหวัดใกล้เคียงให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
การขอพระราชทานชื่อทางพิเศษ
นายณรงค์ เขียดเดช ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ได้ทำเรื่องขอพระราชทานชื่อโครงการทางพิเศษสายศรีรัช-วงแหวนรอบนอกฯ ผ่านกระทรวงคมนาคมถึงสำนักราชเลขาธิการ โดยเสนอขอพระราชทานจำนวน 3 ชื่อ ได้แก่ ทางพิเศษสายวิถีประจิม, ทางพิเศษสายประจิมรัช และ ทางพิเศษสายบรมราชชนก ทั้งนี้ ที่มาของชื่อทางพิเศษสายวิถีประจิม และทางพิเศษสายประจิมรัช เป็นชื่อที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทย เสนอโดยพิจารณาจากแนวสายทางของทางพิเศษเส้นนี้ที่มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันตก ส่วนชื่อ ทางพิเศษสายบรมราชชนก บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ซึ่งเป็นผู้รับสัมปทานเสนอขึ้นมา โดยเห็นว่า ทางพิเศษสายศรีรัช-วงแหวนรอบนอกฯ มีแนวเส้นทางที่คู่ขนานไปกับทางยกระดับคู่ขนานลอยฟ้าถนนบรมราชชนนี[4] แต่เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2565 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อทางพิเศษสายนี้ว่า ทางพิเศษประจิมรัถยา มีความหมายว่า "เส้นทางไปยังทิศตะวันตก"[5]
ลักษณะทางด่วน
.jpg/440px-Bang_Son_Commuter_station,_Aug_2016_(2).jpg)

- เขตทางด่วนมีความกว้างประมาณ 30 เมตร แบ่งออกเป็น 6 ช่องจราจร (ไป–กลับอย่างละ 3 ช่องจราจร กว้างช่องละประมาณ 3.50 เมตร ไหล่ทางด้านนอกกว้าง 1.50 เมตร ไหล่ทางด้านในกว้าง 0.50 เมตร)
- เขตทางด่วนขึ้น - ลง (Main Line + Ramp) กว้างประมาณ 40-45 เมตร เฉพาะ Ramp กว้างประมาณ 10 เมตร (2 ช่องจราจร) ทางแยกต่างระดับ (Interchange กว้างประมาณ 200-300 เมตร)
- มีทางแยกต่างระดับ 3 บริเวณ ทางขึ้น - ลง 6 บริเวณ ประกอบด้วย
- ทางแยกต่างระดับ 3 แห่ง
- ทางแยกต่างระดับกาญจนาภิเษก
- ทางแยกต่างระดับบรมราชชนนี
- ทางแยกต่างระดับศรีรัช
- ทางขึ้น–ลง 6 แห่ง
- ทางขึ้น–ลงกาญจนาภิเษก
- ทางขึ้น–ลงราชพฤกษ์
- ทางขึ้น–ลงบางบำหรุ
- ทางขึ้น–ลงจรัญสนิทวงศ์
- ทางขึ้น–ลงพระราม 6
- ทางขึ้น–ลงกำแพงเพชร
- ทางแยกต่างระดับ 3 แห่ง
โดยเส้นทางส่วนใหญ่จะอยู่แนวเดียวกับเส้นทางรถไฟสายใต้ และโครงการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อน ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)
รายชื่อทางแยก และทางต่างระดับ
จังหวัด | กม.ที่ | ชื่อจุดตัด | ซ้าย | ขวา | |
---|---|---|---|---|---|
![]() | |||||
กรุงเทพมหานคร | 16+700 | ต่างระดับศรีรัช | ![]() | ![]() | |
ถนนกำแพงเพชร 2 ไปแยกรัชวิภา | ถนนกำแพงเพชร 2 ไปสวนจตุจักร | ||||
12+850 | แยกทางด่วนประชาราษฎร์ สาย 1 | ถนนประชาราษฎร์ สาย 1 ไปบรรจบถนนวงศ์สว่าง และ ![]() | ถนนประชาราษฎร์ สาย 1 ไปแยกบางโพ, แยกเกียกกาย | ||
12+625 | สะพาน ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา | ||||
11+950 | แยกทางด่วนจรัญสนิทวงศ์ | ถนนจรัญสนิทวงศ์ ไปขึ้นสะพานพระราม 7, บรรจบถนนวงศ์สว่าง | ถนนจรัญสนิทวงศ์ ไปบางพลัด | ||
นนทบุรี | 7+600 | แยกทางด่วนบางกรวย | ถนนเทอดพระเกียรติ ไปอำเภอบางกรวย, วัดชลอ | ถนนสิรินธร ไปบางพลัด, บรรจบถนนบรมราชชนนี | |
กรุงเทพมหานคร | 4+175 | ต่างระดับบรมราชชนนี | ![]() | ![]() | |
0+000 | ต่างระดับกาญจนาภิเษก | ![]() ![]() | ![]() ![]() | ||
สะพาน กำลังก่อสร้างหรือโครงการในอนาคต |
โครงการในอนาคต
- โครงการทางเชื่อมศรีรัช - แจ้งวัฒนะ - ทางยกระดับอุตราภิมุข (ช่วงทางเชื่อมศรีรัช - แจ้งวัฒนะเปิดให้สัญจรเมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2561)
อ้างอิง
- ↑ "ทางพิเศษสายศรีรัช-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร". การทางพิเศษแห่งประเทศไทย. 2 พฤศจิกายน 2559. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-09. สืบค้นเมื่อ 24 มีนาคม 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "โครงข่ายทางพิเศษที่เปิดให้ใช้บริการ". การทางพิเศษแห่งประเทศไทย. 26 ตุลาคม 2559. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-03. สืบค้นเมื่อ 24 มีนาคม 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน พุทธศักราช 2555,ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 129 หน้า 4 วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2555.
- ↑ ขอพระราชทานชื่อทางด่วน สายศรีรัช-วงแหวนรอบนอก, เส้นทางใหม่สู่ทิศตะวันตก - ไทยรัฐ ออนไลน์
- ↑ "พระราชทานชื่อ "ประจิมรัถยา" ทางพิเศษศรีรัช-วงแหวนรอบนอกฯ". สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส. 2022-09-30. สืบค้นเมื่อ 2022-09-30.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
แหล่งข้อมูลอื่น
- การทางพิเศษแห่งประเทศไทย เก็บถาวร 2017-10-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน