ทางพิเศษศรีรัช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทางพิเศษศรีรัช
ระบบทางด่วนขั้นที่ 2
ทางพิเศษศรีรัช (สีชมพู)
ข้อมูลของเส้นทาง
ความยาว38.4 กิโลเมตร (23.9 ไมล์)
มีขึ้นเมื่อพ.ศ. 2536–ปัจจุบัน
สายบางโคล่–แจ้งวัฒนะ
ปลายทางทิศใต้ ทางพิเศษเฉลิมมหานคร ทางแยกต่างระดับบางโคล่ ใน เขตบางคอแหลม
ทางแยก
ที่สำคัญ
ปลายทางทิศเหนือ ทางพิเศษอุดรรัถยา ใน อำเภอปากเกร็ด
สายพญาไท–ศรีนครินทร์
ปลายทางทิศตะวันตก ทางพิเศษศรีรัช ทางแยกต่างระดับพญาไท ใน เขตราชเทวี
ทางแยก
ที่สำคัญ
ปลายทางทิศตะวันออก ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ทางแยกต่างระดับศรีนครินทร์ ใน เขตสวนหลวง
ตำแหน่งที่ตั้ง
ประเทศไทย
จังหวัด
ระบบทางหลวง

ทางพิเศษศรีรัช หรือ ระบบทางด่วนขั้นที่ 2 (ส่วนในเมือง) เป็นทางพิเศษในกรุงเทพมหานคร ก่อสร้างและเปิดให้บริการเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2536[1][2] ดำเนินการโดยการทางพิเศษแห่งประเทศไทย มีระยะทางรวม 38.4 กิโลเมตร[1] เป็นทางพิเศษที่แบ่งเบาการจราจรบนทางพิเศษเฉลิมมหานคร และเพิ่มประสิทธิภาพของทางพิเศษในกรุงเทพมหานครให้เป็นโครงข่ายที่สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

รายละเอียดของเส้นทาง

ทางพิเศษศรีรัช ช่วงทางลงอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ

ทางพิเศษศรีรัชแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่

สายพญาไท–ศรีนครินทร์

  1. ส่วน A เปิดให้บริการเป็น 1 ใน 2 ส่วนแรก เมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2536 พร้อมกับส่วน C มีระยะทาง 12.4 กิโลเมตร เริ่มต้นที่บริเวณทางแยกต่างระดับพญาไท (โรงกรองน้ำสามเสน) สิ้นสุดแนวสายทางที่ถนนพระราม 9 เป็นทางยกระดับขนาด 6 ช่องจราจรตลอดเส้นทาง
  2. ส่วน D เปิดให้บริการเป็นส่วนสุดท้ายเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2543 มีระยะทาง 8.6 กิโลเมตร เป็นทางพิเศษเขตนอกเมือง เชื่อมต่อกับส่วน A โดยเริ่มจากถนนพระราม 9 ไปทางทิศตะวันออก ตัดกับทางพิเศษเฉลิมมหานครที่ทางแยกต่างระดับมักกะสัน ตัดกับทางพิเศษฉลองรัชที่ทางแยกต่างระดับพระราม 9 และสิ้นสุดที่ถนนศรีนครินทร์ บริเวณทางแยกต่างระดับศรีนครินทร์ และเชื่อมต่อกับทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 เป็นทางยกระดับขนาด 6 ช่องจราจรตลอดเส้นทาง มีด่านเก็บค่าผ่านทางรวมจำนวน 29 ด่าน

สายบางโคล่–แจ้งวัฒนะ

  1. ส่วน B เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2539 มีระยะทาง 9.4 กิโลเมตร มีแนวเชื่อมต่อกับส่วน A ที่บริเวณทางแยกต่างระดับพญาไท แนวสายทางมุ่งไปทางทิศใต้ ผ่านถนนศรีอยุธยา ไปสิ้นสุดที่ทางพิเศษเฉลิมมหานครที่ทางแยกต่างระดับบางโคล่ เป็นทางยกระดับขนาด 6 ช่องจราจร
  2. ส่วน C เปิดให้บริการเป็น 1 ใน 2 ส่วนแรก เมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2536 พร้อมกับส่วน A มีระยะทาง 8 กิโลเมตร เป็นทางพิเศษเขตนอกเมือง โดยเชื่อมต่อกับส่วน A บริเวณทางแยกต่างระดับพญาไท มุ่งไปทางทิศเหนือเชื่อมต่อกับทางพิเศษประจิมรัถยา (สายศรีรัช-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร) บริเวณย่านศูนย์คมนาคมพหลโยธิน ผ่านถนนรัชดาภิเษก ถนนประชาชื่น สิ้นสุดที่ถนนแจ้งวัฒนะ และเชื่อมต่อกับทางพิเศษอุดรรัถยา แต่เดิมส่วนนี้เป็นทางยกระดับขนาด 4 ช่องจราจร (2 สะพาน สะพานละ 2 ช่องจราจร) และได้รับการขยายเป็น 6 ช่องจราจรแล้ว

อนึ่ง ทางพิเศษศรีรัชมีถนนใต้ทางพิเศษ 2 เส้น คือ ถนนพระรามที่ 6 ในช่วงตั้งแต่แยกยมราชถึงถนนกำแพงเพชร และถนนจารุเมือง ในช่วงตั้งแต่แยกวัดดวงแขถึงแยกมหานคร

รายชื่อทางแยกและทางแยกต่างระดับ

รายชื่อทางเข้าออกบน ทางพิเศษศรีรัช
จังหวัดกม.ที่ชื่อจุดตัดหมายเลขทางออกจุดหมายปลายทางหมายเหตุ
บางโคล่–แจ้งวัฒนะ
กรุงเทพมหานคร0+000Aต่างระดับบางโคล่ต. 2-14ถนนรัชดาภิเษกบรรจบ ถนนพระรามที่ 3ไม่มี
0+000Aต่างระดับบางโคล่- ทางพิเศษเฉลิมมหานคร (ดาวคะนอง)ไม่มี
0+000Aต่างระดับบางโคล่- ทางพิเศษสายพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกตะวันตก (แสมดำ - บางโคล่)ไม่มี
0+000Aต่างระดับบางโคล่- ทางพิเศษเฉลิมมหานคร (ดินแดง - บางนา)ไม่มี
0+200Aแยกด่วนสาธุประดิษฐ์ต. 2-13ถนนสาธุประดิษฐ์ – ตะวันออก: บรรจบถนนจันทน์; ตะวันตก: บรรจบถนนพระรามที่ 3ไม่มี
2+100Bแยกทางด่วนถนนจันทน์น. 2-01ถนนจันทน์ – ตะวันออก: บรรจบถนนเจริญกรุง; ตะวันตก: บรรจบถนนนางลิ้นจี่ไม่มี
2+800Aแยกทางด่วนถนนจันทน์ต. 2-12ถนนจันทน์ – ตะวันออก: บรรจบถนนเจริญกรุง; ตะวันตก: บรรจบถนนนางลิ้นจี่ไม่มี
      สะพาน              กำลังก่อสร้างหรือโครงการในอนาคต
รายชื่อทางแยกบน ทางพิเศษศรีรัช
จังหวัดกม.ที่ชื่อจุดตัดซ้ายขวา
บางโคล่–แจ้งวัฒนะ
กรุงเทพมหานคร0+000ต่างระดับบางโคล่ ทางพิเศษเฉลิมมหานครขึ้น สะพานพระราม 9 ไปดาวคะนอง ทางพิเศษเฉลิมมหานคร ไป ดินแดง, ถนนพระราม 9, บางนา
ทางพิเศษสายพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกตะวันตก ไป สมุทรสาครไม่มี
2+200Bแยกทางด่วนถนนจันทน์ถนนจันทน์ ไป บรรจบถนนเจริญกรุงถนนจันทน์ ไป บรรจบถนนนางลิ้นจี่
3+250แยกทางด่วนถนนสาทรถนนสาทร ไป ขึ้น สะพานตากสิน, บางรักถนนสาทร ไป แยกสาทร - นราธิวาส, แยกวิทยุ
3+700แยกทางด่วนถนนสีลมถนนสีลม ไป บางรักถนนสีลม ไป แยกศาลาแดง
4+000แยกทางด่วนถนนสุรวงศ์ถนนสุรวงศ์ ไป บางรักถนนสุรวงศ์ มาจาก แยกอังรีดูนังต์
5+300แยกมหานครถนนพระรามที่ 4 ไป หัวลำโพง, เยาวราชถนนพระรามที่ 4 ไป สามย่าน
9+500ต่างระดับพญาไทไม่มี ทางพิเศษศรีรัช (พญาไท - ศรีนครินทร์) ไป ถนนพระราม 9, ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
12+500แยกทางด่วนถนนกำแพงเพชรถนนพระรามที่ 6 ไป แยกประชาชื่น, เตาปูนถนนกำแพงเพชร ไป สวนจตุจักร
13+900แยกทางด่วนถนนกำแพงเพชร 2ถนนกำแพงเพชร 2 ไปบรรจบถนนกำแพงเพชรถนนกำแพงเพชร 2 ไปต่างระดับรัชวิภา
15+400ต่างระดับศรีรัช ทางพิเศษประจิมรัถยา ไป ถนนราชพฤกษ์, ถนนกาญจนาภิเษก (ด้านตะวันตก)ทางเชื่อมต่อ ทางยกระดับอุตราภิมุข (โครงการในอนาคต) ไป เขตดอนเมือง, เขตดินแดง
16+800แยกทางด่วนถนนรัชดาภิเษกถนนรัชดาภิเษก ไป แยกประชานุกูล, สะพานพระราม 7ถนนรัชดาภิเษก ไป ทางแยกต่างระดับรัชวิภา
นนทบุรี20+125แยกทางด่วนถนนงามวงศ์วาน ถนนงามวงศ์วาน ไป แยกแคราย, กระทรวงสาธารณสุข ถนนงามวงศ์วาน ไป แยกพงษ์เพชร, ม.เกษตรศาสตร์
24+250แยกทางด่วนถนนแจ้งวัฒนะ ถนนแจ้งวัฒนะ ไปแยกปากเกร็ด ถนนแจ้งวัฒนะ ไปศูนย์ราชการฯ, หลักสี่
ตรงไป: ทางพิเศษอุดรรัถยา ไป ม.ธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต), บางปะอิน
พญาไท–ศรีนครินทร์
กรุงเทพมหานคร0+000ต่างระดับพญาไท ทางพิเศษศรีรัช (บางโคล่ - แจ้งวัฒนะ) ไป บางโคล่, ดาวคะนอง ทางพิเศษศรีรัช (บางโคล่ - แจ้งวัฒนะ) ไป แจ้งวัฒนะ, บางปะอิน
1+275แยกทางด่วนอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิถนนพหลโยธิน ไป อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิถนนพหลโยธิน ไป สะพานควาย
2+275ต่างระดับมักกะสัน ทางพิเศษเฉลิมมหานคร ไป บางนา, ดาวคะนอง ทางพิเศษเฉลิมมหานคร ไป บรรจบถนนวิภาวดีรังสิต, ท่าอากาศยานดอนเมือง
4+450แยกทางด่วนถนนอโศก - ดินแดงถนนอโศก-ดินแดง ไป แยกอโศก-เพชรบุรี, ถนนสุขุมวิทถนนอโศก-ดินแดง ไป แยกพระราม 9
5+000แยกทางด่วนถนนเพชรอุทัยถนนเพชรอุทัย ไป บรรจบ ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ถนนเพชรอุทัย ไป บรรจบ ถนนพระราม 9
7+750ต่างระดับรามคำแหง ทางพิเศษฉลองรัช ไป เอกมัย, บางนา ทางพิเศษฉลองรัช ไป รามอินทรา, ถนนกาญจนาภิเษก (ด้านตะวันออก)
9+075แยกรามคำแหงถนนรามคำแหง ไป คลองตันถนนรามคำแหง ไป ม.รามคำแหง, แยกลำสาลี
13+036ต่างระดับศรีนครินทร์ถนนศรีนครินทร์ ไป ถนนพัฒนาการ, บางนาถนนศรีนครินทร์ ไป บางกะปิ
ตรงไป: ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ไป ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ, ชลบุรี
      สะพาน              กำลังก่อสร้างหรือโครงการในอนาคต

โครงการในอนาคต

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 "โครงข่ายทางพิเศษที่เปิดให้ใช้บริการ". การทางพิเศษแห่งประเทศไทย. 8 มกราคม 2557. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-07. สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "ทางพิเศษศรีรัช". การทางพิเศษแห่งประเทศไทย. 22 ตุลาคม 2557. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-08. สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น

พิกัดภูมิศาสตร์: 13°47′59″N 100°34′47″E / 13.799755°N 100.579586°E / 13.799755; 100.579586

0.30762195587158