ทางพิเศษบูรพาวิถี
ทางพิเศษบูรพาวิถี | |
---|---|
![]() ทางพิเศษบูรพาวิถี (สีเหลือง) | |
ข้อมูลของเส้นทาง | |
ความยาว | 55.0 กิโลเมตร (34.2 ไมล์) |
มีขึ้นเมื่อ | พ.ศ. 2541–ปัจจุบัน |
ทางแยกที่สำคัญ | |
ปลายทางทิศตะวันตก | ![]() |
![]() | |
ปลายทางทิศใต้ | ![]() |
ตำแหน่งที่ตั้ง | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | |
ระบบทางหลวง | |
ทางพิเศษบูรพาวิถี หรือ ทางด่วน 4 เป็นทางพิเศษที่ดำเนินการโดยการทางพิเศษแห่งประเทศไทย เปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2541[1] และเปิดให้บริการตลอดสายเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543[1] มีจุดเริ่มต้นที่เขตบางนา กรุงเทพมหานคร สิ้นสุดที่อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี ระยะทางทั้งสิ้น 55 กิโลเมตร เป็นทางยกระดับขนาด 6 ช่องจราจรซ้อนอยู่บนถนนเทพรัตน (หรือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 34) เป็นทางพิเศษที่เชื่อมการคมนาคมขนส่งระหว่างกรุงเทพมหานครกับพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกของประเทศ ช่วยลดปริมาณการจราจรบนถนนเทพรัตน และในช่วงเทศกาลวันหยุดยาวทางพิเศษบูรพาวิถีจะมีการยกเว้นค่าผ่านทาง ได้แก่ เทศกาลปีใหม่ และเทศกาลสงกรานต์
ใน พ.ศ. 2543 ทางพิเศษบูรพาวิถีได้รับการจัดอันดับโดย กินเนสส์บุ๊ค ให้เป็นสะพานมีความยาวที่สุดในโลก แต่ถูกโค่นสถิติลงในปี พ.ศ. 2551 โดยสะพานเว่ยหนาน-เว่ยเหอในประเทศจีนซึ่งเป็นสะพานรถไฟความเร็วสูง ทางพิเศษบูรพาวิถีเป็นสะพานที่ยาวเป็นอันดับ 6 ของโลกในปัจจุบัน โดยที่อันดับ 1-5 เป็นสะพานทางรถไฟ ทำให้ทางพิเศษบูรพาวิถียังมีตำแหน่งเป็นสะพานทางรถยนต์ที่ยาวที่สุดในโลก
ทางพิเศษบูรพาวิถีเป็นทางพิเศษสายแรกที่ใช้ระบบปิดหรือระบบเก็บเงินตามระยะทาง กล่าวคือ เวลารถที่จะขึ้นทางออกต้องรับบัตรที่ด่านทางเข้า และเวลารถที่จะลงทางด่วนต้องคืนบัตรและจ่ายเงินที่ด่านทางออก ในปัจจุบัน ทางพิเศษกาญจนาภิเษก และทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ก็ใช้ระบบนี้เช่นเดียวกัน ในอนาคต ทางหลวงพิเศษหมายเลข 6 และทางหลวงพิเศษหมายเลข 81 ก็จะใช้ระบบเก็บค่าผ่านทางแบบปิดด้วยเช่นกัน
ในวันที่ท้องฟ้าเปิดและทัศนวิสัยดี จะทำให้มองเห็นเขาเขียวบนทางพิเศษตั้งแต่ กม.0 ขาออกไปจนถึง กม.55
รายละเอียดของเส้นทาง
.jpg/440px-Amazing_Thailand_-_panoramio_(29).jpg)
ทางพิเศษบูรพาวิถีมีแนวสายทางเริ่มที่บริเวณปลายทางพิเศษสายบางนา–อาจณรงค์ (ระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายใต้ตอน S1) บริเวณเขตบางนา กรุงเทพมหานคร โดยใช้พื้นที่เกาะกลางถนนเทพรัตน มุ่งไปทางทิศตะวันออก เข้าสู่จังหวัดสมุทรปราการ ผ่านอำเภอบางพลี ตัดกับถนนกาญจนาภิเษก ผ่านอำเภอบางเสาธง อำเภอบางบ่อ แล้วเข้าสู่จังหวัดฉะเชิงเทรา ผ่านอำเภอบางปะกง ข้ามแม่น้ำบางปะกง และสิ้นสุดที่อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี ระยะทางทั้งสิ้น 55 กิโลเมตร
รายชื่อทางขึ้น-ทางลง
จังหวัด | กม.ที่ | ชื่อด่านเก็บค่าผ่านทาง | เข้าเมือง | ออกเมือง | |
---|---|---|---|---|---|
![]() | |||||
กรุงเทพมหานคร | 0+000 | เชื่อมต่อจาก: ![]() | |||
2+000 | ทางลงบางนา กม.2 | ทางขึ้นบางนา กม.2 | |||
สมุทรปราการ | 6+000 | ด่านฯบางนา กม.6 | บางนา - สำโรง - พระโขนง ช่องที่ 1 - 4 ดาวคะนอง - ดินแดง - แจ้งวัฒนะ - พระราม 9 - รามอินทรา ช่องที่ 5 - 14 | ชลบุรี - พัทยา | |
7+000 | ด่านฯบางแก้ว | ทางลงบางแก้ว | ทางขึ้นบางแก้ว | ||
9+000 | ด่านฯบางนา กม.9-1 ด่านฯบางนา กม.9-2 ด่านฯวงแหวนรอบนอก (บางแก้ว) ด่านฯบางนา กม.9-3 | ไม่มี | ทางลงบางนา กม.9-1 ถนนกาญจนาภิเษก ไปถนนพระรามที่ 2 | ||
ไม่มี | ทางลงบางนา กม.9-2 ถนนกาญจนาภิเษก ไปบางปะอิน | ||||
ทางลงวงแหวนรอบนอก ไปถนนพระรามที่ 2 | ทางขึ้นวงแหวนรอบนอก ถนนกาญจนาภิเษก จากบางปะอิน | ||||
ทางขึ้นบางนา กม.9-3 ถนนกาญจนาภิเษก จากถนนพระรามที่ 2 / บางปะอิน | ไม่มี | ||||
11+000 | ด่านฯบางพลี 1 | ทางขึ้นด่านฯบางพลี 1 | ทางลงด่านฯบางพลี 1 | ||
13+000 | ด่านฯบางพลี 2 | ทางลงด่านฯบางพลี 2 ไปลาดกระบัง บางพลี | ทางขึ้นด่านฯบางพลี 2 | ||
15+000 | ด่านฯสุวรรณภูมิ 1 ด่านฯสุวรรณภูมิ 2 | ทางขึ้นสุวรรณภูมิ 1 ชลบุรี - พัทยา | ทางลงสุวรรณภูมิ 1 ไปท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ | ||
ทางลงด่านฯสุวรรณภูมิ 2 ไปท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ | ทางขึ้นด่านฯสุวรรณภูมิ 2 ไปชลบุรี - พัทยา | ||||
19+000 | ด่านฯเมืองใหม่บางพลี | ทางลงเมืองใหม่บางพลี | ทางขึ้นเมืองใหม่บางพลี | ||
25+000 | ด่านฯบางเสาธง | ทางลงบางเสาธง | ทางขึ้นบางเสาธง | ||
30+000 | ด่านฯบางบ่อ | ทางลงบางบ่อ | ทางขึ้นบางบ่อ | ||
33+000 | ด่านฯบางพลีน้อย | ทางขึ้นบางพลีน้อย ไปบางนา / รามอินทรา / ดาวคะนอง / ดินแดง | ทางลงบางพลีน้อย | ||
ฉะเชิงเทรา | 38+000 | ด่านฯบางสมัคร | ทางลงบางสมัคร | ทางขึ้นบางสมัคร | |
41+000 | ด่านฯบางวัว | ทางลงบางวัว | ทางขึ้นบางวัว | ||
45+000 | ด่านฯบางปะกง 1 | ทางขึ้นบางปะกง 1 | ทางลงบางปะกง 1 | ||
47+000 | ด่านฯบางปะกง 2 | ทางลงบางปะกง 2 | ทางขึ้นบางปะกง 2 | ||
ชลบุรี | 54+000 | ด่านฯชลบุรี | ทางขึ้นชลบุรี ไปบางนา / รามอินทรา / ดาวคะนอง / ดินแดง | ทางลงชลบุรี | |
สะพาน กำลังก่อสร้างหรือโครงการในอนาคต |
รายชื่อต่างระดับ
จังหวัด | กม.ที่ | ชื่อจุดตัด | ซ้าย | ขวา | |
---|---|---|---|---|---|
![]() | |||||
กรุงเทพมหานคร | 0+000 | แยกบางนา | เชื่อมต่อจาก: ![]() | ||
สมุทรปราการ | 9+050 | ต่างระดับวัดสลุด | ![]() ![]() | ![]() ![]() | |
15+100 | ต่างระดับบางโฉลง | ![]() ![]() | ไม่มี | ||
![]() | ![]() | ||||
ชลบุรี | 53+800 | ด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษชลบุรี (สิ้นสุดทางยกระดับ) | ตรงไป: ![]() | ||
ตรงไป: ทางพิเศษบูรพาวิถี (โครงการในอนาคต) ไป พัทยา | |||||
สะพาน กำลังก่อสร้างหรือโครงการในอนาคต |
การก่อสร้าง
ประวัติการเปิดให้บริการ
การก่อสร้างตลอดสายแล้วเสร็จตามสัญญาตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2543 (ระยะเวลาก่อสร้างที่ขยายจากแผนงานเดิม 11 เดือน ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2540) โดยได้เปิดให้บริการเป็นช่วงต่าง ๆ ดังนี้
- กม.2+500 ถึง กม.7+500 เมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2541
- กม.7+500 ถึง กม.11+400 เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2541
- กม.11+400 ถึง กม.19+300 เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542
- กม.19+300 ถึง กม.25+800 เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2542
- กม.25+800 ถึง กม.38+300 เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2542
- กม.38+300 ถึง กม.46+100 เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542
- กม.46+100 ถึง กม.55+350 เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543
ทางยกระดับด้านทิศใต้สนามบินสุวรรณภูมิเชื่อมทางพิเศษบูรพาวิถี เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2552 และทางเชื่อมทางพิเศษสายบางพลี-สุขสวัสดิ์ กับทางพิเศษบูรพาวิถี เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2552
ส่วนต่อขยาย
โครงการที่จะสร้างต่อจากทางด่วนพิเศษบูรพาวิถีส่วนแรก คือ สายบูรพาวิถี–พัทยา รวมระยะทาง 68 กิโลเมตร งบลงทุน 5 หมื่นล้านบาท เมื่อสร้างสายบูรพาวิถี–พัทยา รวมส่วนแรกที่สร้างเสร็จจะมีระยะทางทั้งสิ้น 123 กิโลเมตร โดยโครงการนี้ยังไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจน
ทั้งนี้จะดำเนินการก่อสร้างจากจุดสิ้นสุดทางพิเศษในปัจจุบัน ถึงทางแยกต่างระดับหนองไม้แดง โดยเชื่อมต่อกับถนนเลี่ยงเมืองชลบุรี รวมระยะทาง 4.5 กม. ก่อน เพื่อแก้ไขปัญหาจราจรหน้านิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร[2][3]
อ้างอิง
- ↑ 1.0 1.1 "ทางพิเศษบูรพาวิถี". การทางพิเศษแห่งประเทศไทย. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-08. สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ เว็บไซต์โครงการส่วนต่อขยายทางพิเศษบูรพาวิถี-ทางเลี่ยงเมืองชลบุรี
- ↑ การประชุมประชาสัมพันธ์และรับฟังความคิดเห็น โครงการทางด่วนบูรพาวิถีส่วนต่อขยาย จุดสิ้นสุดบูรพาวิถี-เลี่ยงเมืองชลบุรี , โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure
แหล่งข้อมูลอื่น
- การทางพิเศษแห่งประเทศไทย เก็บถาวร 2015-05-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน